การเรียกเก็บภาษีจากการซื้อขายคริปโตฯ จากทั่วโลก
รัฐบาลเกาหลีมีการกำหนดภาษีสำหรับรายได้จากการซื้อขายคริปโตฯ ในปีนี้ ตามมาด้วยญี่ปุ่นที่เรียกเก็บภาษีจากสินทรัพย?คริปโตฯ
ประเทศเกาหลีใต้เป็นหนึ่งตลาดคริปโตฯที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปัจจุบันยังเป็นผู้นำด้านการแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ของโลกและยังเป็นผู้นำด้านการใช้กระเป๋าตังค์คริปโตฯ อีกด้วย เนื่องจากรัฐบาลได้มีการกำหนดข้อกฎหมายในเรื่องของธุรกิจประเภทนี้
มากไปกว่านั้น Coindesk รายงานว่า ประเทศเกาหลีมีแผนจะเรียนเก็บภาษีที่ 20% จากคริปโตฯ
ในขณะเดียวกันประเทศอื่นๆ ได้เล็งเห็นว่าคริปโตฯ เป็นสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงวางแผนที่จะเรียกเก็บภาษีจากการเทรดคริปโตฯ ด้วยเช่นกัน
U.S. National Tax Service (IRS) หรือกรมสรรพากรของสหรัฐฯ ได้ประกาศรายละเอียดของแผนการเรียกเก็บภาษีของธุรกิจคริปโตฯ อ้างอิงจากการประกาศ IRS ปี 2019 คุณสมบัติของภาษีมี 2 ประเภท คือ การลงทุนระยะสั้นและการลงทุนระยะยาว โดยคิดจากระยะเวลา 1 ปี
สำหรับนักลงทุนระยะสั้น ภาษีที่เรียกเก็บอยู่ที่ 10-37% ซึ่งรวมรายได้จากการเทรดคริปโตฯ จากรายได้รวมทั้งหมด ในขณะเดียวกันถ้านักลงทุนถือครองเหลือมากกว่า 1 ปี จะถือเป็นรายได้จากการลงทุนระยะยาว ดังนั้นนักลงทุนจะถูกเรียกเก็บภาษีที่ 0%, 15% และสูงสุด 20% ถ้าผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวอยู่ระหว่าง $20 – $2 ล้าน นักลงทุนจะต้องจ่ายภาษีเงินได้จากการลงทุนเพิ่ม 3.8% ที่อัตราภาษี 20%
ภาษีคริปโตฯ ในยุโรป
ในกรณีสหภาพยุโรป ยังไม่ได้มีการกำหนดกฎหมายในเรื่องการเรียกเก็บภาษีจากการเทรดคริปโตฯ ปัจจุบันในแต่ละประเทศมีนโยบายจัดเก็บสกุลเงินตามรหัสภาษีของตนเอง
HMRC กรมสรรพากรของประเทศอังกฤษได้ขยายความในรายงานนโยบายเดือนธันวาคม ปี 2018 ว่า ภาษีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ “เกิดการใช้เงิน ซึ่งรวมไปถึงเงินที่ใช้จ่ายชำระหนี้และเงินที่ได้จากการซื้อขายคริปโตฯ
การทำธุรกรรมซื้อขายคริปโตฯ มี 2 ประเภทด้วยกัน ซึ่งนั่นก็คือ ธุรกรรมทางการเงิน และธุรกรรมการลงทุน ซึ่งวัดจากความถี่และพฤติกรรมของธุรกรรม สำหรับธุรกรรมทางการเงิน รายได้จากการขายจะถือว่าเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในขณะเดียวกันถ้าธุรกรรมนั้นเป็นธุรกรรมการลงทุน จะถือว่าเป็นภาษีจากการซื้อขายหลักทรัพย์