บิตคอยน์เก็บข้อมูลอย่างไร?
อีกหนึ่งปัญหาสำคัญก็คือ การกระจายอำนาจเครือข่าย ยกตัวอย่างเช่น การเก็บบิตคอยน์
คุณรู้หรือไม่ว่า ข้อมูลการทำรายการซื้อขายบิตคอยน์และยอดเงินในบัญชีของคุณถูกเก็บไว้ที่ไหนบนโลกนี้?
ในระบบการเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิม มีเซิร์ฟเวอร์เฉพาะที่ถูกดูแลและครอบครองโดยสถาบันการเงิน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร ซึ่งเป็นที่สำหรับเก็บข้อมูลทั้งหมด ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือระดับสูง แต่ก็ยังมีแฮคเกอร์ที่คอยพยายามจะเข้าระบบเพื่อขโมยข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นปีๆ
ในส่วนของระบบบิตคอยน์ ยังไม่มีอำนาจหรือหน่วยงานที่ดูแลการจัดการข้อมูลเหล่านี้ แต่ในทางกลับกันข้อมูลเหล่านั้นกลับถูกเปิดเผยแทน
บิตคอยน์ใช้เครือข่ายแบบการเชื่อมต่อเลนไร้สาย หรือ peer-to-peer (P2P) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งโดยตรง ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกแจกจ่ายไปยังคอมพิวเตอร์นับพัน หรือเราเรียกมันว่า ‘Nodes’ โดย Nodes จะถูกเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต แต่ละ Nodes จะเข้าถึง ledger (หรือ blockchain) ซึ่งจะถูกอัพเดรตเมื่อเกิดการทำรายการขึ้น
การทำธุรกรรมนี้ดำเนินการตามกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า Bitcoin protocol
แต่ละบล็อกมีแฮชของบล็อกล่าสุดเป็นส่วนหัว เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะธุรกรรมใด ที่มีการเปลี่ยนอักขระเพียงตัวเดียวไม่ได้เปลี่ยนเฉพาะแฮชของบล็อกนั้น แต่บล็อกทั้งหมดในเชนจะเปลี่ยนแปลงด้วย
หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ ถ้าหากมีใครพยายามที่จะเปลี่ยนธุรกรรมนั้น บล็อกทั้งหมดจะถูกคำนวณใหม่อีกครั้ง และการคำนวณนั้นๆ แถบจะเป็นไปไม่ได้เลย มากไปกว่านั้นในขณะที่มีบล็อกใหม่ๆ เกิดขึ้น blockchain จะมีความปลอดภัยมากขึ้นเช่นเดียวกัน