วิธีการหางานสำหรับนักศึกษาจบใหม่
การเริ่มต้นการหาประสบการณ์ในโลกของการทำงานหลังจบการศึกษาแล้วเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่ง และการเริ่มต้นสู่โลกแห่งความจริงนี้โดยสำหรับนักศึกษาที่พึ่งจบใหม่ เป็นก้าวแรกที่ยิ่งใหญ่ และท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาจำเป็นต้องโชว์ทักษะความสามารถและประสบการณ์การทำงานที่พวกเขามี เพราะฉะนั้นการหางานหลังจบการศึกษาเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากเลยทีเดียวค่ะ
เพราะฉะนั้นเราจึงนำเคล็ดลับ 5 ข้อมาฝากกันค่ะ เพื่อช่วยให้นักศึกษาจบใหม่หลายๆคนประสบความสำเร็จในการหางาน
1. อ่านและทำความเข้าใจคำอธิบายของงานให้ชัดเจน
สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าเรซูเม่ของคุณจะดีแค่ไหน ถ้าคุณละเลยการเขียน cover letter หรือไม่เปลี่ยนแปลงเรซูเม่ให้เข้ากับงานที่คุณสมัคร คุณอาจจะพลาดโอกาสที่จะเข้าไปในรอบสัมภาษณ์ได้ค่ะ และถ้าบริษัทที่คุณสมัครเข้าทำงานต้องการ cover letter ของคุณด้วยล่ะก็ อย่าลืมที่จะแนบไปด้วยนะคะ
และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ อย่าลืมอ่านคำอธิบายลักษณะงานนั้นๆ และทำการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทนั้นด้วยค่ะ หลังจากนั้นเขียนเรซูเม่ให้เหมาะสมกับงาน เพื่อให้บริษัทประทับใจในตัวคุณเป็นครั้งแรกเมื่อพวกเขาอ่านเรซูเม่ของคุณ จากนั้นเขียนประสบการณ์และทักษะที่คุณมีเพื่อให้เข้ากับงานที่คุณกำลังสมัครอยู่นั่นเองค่ะ
2. กระตืนรืนร้นในการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย
การประสบความสำเร็จในการเรียนเป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณจะต้องมีความกระตืนรืนร้นในมหาวิทยาลัย เช่นการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะนำประสบการณ์ตรงนี้มาเขียนลงเรซูเม่ของคุณ คุณสามารถใช้ทักษะต่างๆ ที่คุณได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมเหล่านั้น และนี่เป็นวิธีที่ทำให้ฝ่าย HRD เล็งเห็นทักษะต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า, การตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง และความสามารถในการเรียนรู้จากผู้อื่น
3. เข้าร่วมกิจกรรมการกุศล
มีหนุ่มสาวหลายคนที่เข้าร่วมงานการกุศล หรืองานอาสาสมัคร เพราะมันเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้พวกเขาสร้างทักษะใหม่ๆในโลกความเป็นจริงของการทำงาน ได้พบปะผู้คนและขยายเครือข่ายในสายอาชีพของพวกเขานั่นเอง และการร่วมงานเหล่านี้ คุณยังสามารถเขียนลงไปในเรซูเม่ได้อีกด้วย โดยคุณอาจเขียนชื่อองค์กรที่คุณไปเป็นอาสาสมัคร, หน้าที่และความรับผิดชอบ, และใครที่คุณทำงานด้วยบ้าง เพราะมันเป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถในการจัดการความรับผิดชอบและหน้าที่ของคุณเอง ถึงแม้ว่าองค์นั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับสายงานที่คุณต้องการจะทำก็ตาม แต่อย่างน้อยคุณก็รู้จักการทำงานกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอายุแก่กว่าหรืออ่อนกว่า
4. สร้าง personal brand
เมื่อบริษัทกำลังมองหาผู้สมัครงาน พวกเขาต้องการรู้ว่า ผู้สมัครงานนั้นเหมาะกับตำแหน่งที่พวกเขาต้องการหรือไม่ และเกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรนั้นหรือไม่ ซึ่งโซเชียลมีเดียเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร เพราะสำหรับบริษัทแล้ว การหาข้อมูลของผู้สมัครบนโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจ้างงาน เพราะฉะนั้นพวกเขาไม่ควรโพสอะไรที่เป็นที่น่าอับอาย หรือสิ่งที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง
5. อ่านทบทวนเรซูเม่และ cover letter
เช็คแกรมม่าและตัวสะกดเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั้งหมด คุณอาจพบว่า ข้อผิดพลาดในการสะกดคำหรือแกรมม่าใน cover letters นั้นมีเยอะเต็มไปหมด หรือการพูดถึงองค์กรนั้นในแบบผิดๆ และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เช็คชื่ออีเมลล์ของคุณด้วยว่า มันดูเป็นมืออาชีพหรือไม่ และถ้าไม่ คุณควรจะสร้างอีเมลล์อันใหม่เพื่อใช้ในการทำงานในอนาคตค่ะ
มากไปกว่านั้นคุณควรจะเตรียมตัวให้พร้อมกับขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน thriveglobal.com, กล่าวว่า ผู้สัมภาษณ์สามารถรู้สึกได้ว่า คุณกำลังวิตกกังวล และนี่อาจเป็นสาเหตุให้คุณพลาดโอกาสในการเข้าทำงานนี้ได้ค่ะ และถ้าคุณไม่มั่นใจกับสิ่งที่คุณกำลังจะพูด ให้คุณลองหายใจลึกๆ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้คุณผ่อนคลายขึ้น ฟังคำถามให้ดีๆก่อนที่คุณจะตอบนะคะ โชคดีค่ะ