ประชากรล้นประเทศ และการว่างงาน: วิกฤตที่เรามองข้าม
หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ก็คือ ปัญหาประชากรในประเทศมีเยอะจนเกินไป และนี่เป็นปัญหาที่ส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจเกินกว่าที่เราจะคาดถึง
“ยิ่งมีครอบครัวใหญ่มากเท่าไหร่ ยิ่งดี” วัฒนธรรมนี้ถูกปลูกฝังและเป็นที่นิยมในภูมิภาคเอเชียมาช้านาน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีคำถามอยู่ว่า ความเชื่อนี้ยังคงเป็นที่นิยมอยู่หรือไม่? เนื่องจากปัญหาประชากรล้นประเทศและปัญหาการว่างงานยังมีการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้น?
แต่ก่อนที่เราจะคุยเรื่องนี้กันต่อ เราควรตั้งคำถามก่อนว่า จริงๆแล้วประชากรที่มีจำนวนมากเกินไปและปัญหาการว่างงาน เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกันหรือไม่? แล้วการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรส่งผลต่อปัญหาการว่างงานใช่หรือไม่?
จากงานวิจัยหลายที่ พบว่า ตัวแปรทั้งสองตัวนี้มีความสัมพันธ์กัน หรือพูดอีกอย่างนึงก็คือ ยิ่งมีจำนวนประชากรในประเทศเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ โอกาสในการหางานก็จะลดลงมากเท่านั้น
ในปัจจุบันนี้ปัญหาประชากรล้นประเทศดูเหมือนจะมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก และเอเชียก็ประสบปัญหานี้ซะส่วนใหญ่ เนื่องจากประชากรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่งานที่มีกลับไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร จนทำให้ปัญหานี้มีผลต่อจำนวนคนว่างงานและผลสุดท้ายที่ตามมาก็คือ ความยากจน
นั่นก็เพราะว่า มีคนจำนวนมากที่ต้องการทำงาน และบริษัทที่รับสมัครงานยังคงต้องการคนอีกเยอะ นั่นก็แสดงถึง มาตรฐานเงินเดือนที่ให้พนักงานแต่ละคนน้อยเกินไป
ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ความจนอาจไม่ใช่ผลลัพธ์ของปัญหาการว่างงานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการใช้แรงงานเด็กและการเป็นทาสการทำงานมีจำนวนมากขึ้น และนี่อาจอีกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานในประเทศได้อีกด้วย
พวกเรามองข้ามวิกฤตนี้ไปจริงหรือไม่?
พวกเรามองข้ามวิกฤตนี้ไปจริงหรือไม่? นี่อาจเป็นคำถามที่แย่ที่สุดก็เป็นได้ค่ะ คำแนะนำง่ายๆเลยค่ะ ที่จะสามารถตอบคำถามนี้ได้ นั่นก็คือ อยากให้พวกเรามองไปรอบๆตัวเองและรวมถึงการสำรวจตัวเองด้วย จากนั้นถามคำถามนี้กับพวกเขาและตัวคุณเองว่า “พวกเขาและตัวคุณสนใจวิกฤตนี้หรือไม่?”
ในปี 2013 Erle C. Ellis ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนความคิดเห็น ในรายงานเกี่ยวกับปัญหาประชากรล้นประเทศและส่งไปยัง The New York Times นอกจากนี้เธอยังกล่าวในรายงานว่า ปัญหาการว่างงานจริงๆแล้วไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง แต่ปัญหาที่แท้จริงก็คือ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมากจนเกินไป
และปัญหานี้ก็คือเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน และปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอื่นๆตามมาอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามปัญหาประชากรล้นประเทศนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ปัญหาประชากรล้นประเทศ อาจไม่ใช่สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน แต่จริงๆแล้วมันคือสาเหตุของการเกิดปัญหาการว่างงาน, ความยากจน และปัญหาอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ปี 2014 Narendra Modi นายกรัฐมนตรี ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และผลที่ตามมาก็คือ เศรษฐกิจของประเทศอินเดียโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าประเทศจีนอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจอินเดียที่โตขึ้นทำให้เห็นว่า ในหลายพื้นที่ของประเทศอินเดียมีการพัฒนาขึ้นตามไปด้วย และในพื้นที่ที่มีการพัฒนามากจนเกินไปทำให้จำนวนงานถูกจำกัด และทำให้งานมีไม่เพียงพอต่อจำนวนคนว่างงาน และในที่สุดบริษัทต่างๆ ได้ตัดสินใจจ้างเด็กและกลุ่มคนที่ยอมรับการทำงานที่มีเงินเดือนน้อย จนทำให้เกิดปัญหาตามมา
มีอีกหลายคนที่มองข้ามปัญหาประชากรล้นประเทศ เนื่องจากปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาหลักของมนุษย์ที่กำลังเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้ แต่จริงๆแล้ว ปัญหาประชากรล้นประเทศเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาในเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจและสังคม