ธุรกิจ

ทำงานที่บ้าน 101: แอพพลิเคชั่น 6 ประเภทที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานที่บ้าน

Thai Trading Focus

ทำงานที่บ้าน 101: แอพพลิเคชั่น 6 ประเภทที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานที่บ้าน

บริษัทหลายแห่งทั่วโลกในปัจจุบันต่างพากันมาใช้การสื่อสารโทรคมนาคมหรือ telecommuting เนื่องจากวิธีนี้จะฃ่วยให้การทำงานที่บ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงได้นำเอาแอพพลิเคชั่น 6 ประเภทที่เหมาะแก่การทำงานที่บ้านมาฝากกันค่ะ:

WhatsApp

แอพพลิชั่นนี้เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่ไม่สามารถแยกออกจากชีวิตของมนุษย์เราได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องทำงานที่บ้านของคุณเอง WhatsApp ทำให้คุณสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือหัวหน้าของคุณได้นั่นเอง

WhatsApp ไม่เพียงแต่ให้บริการในเรื่องของการแชร์ข้อความ แต่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์งาน รวมถึงวิดีโอและข้อความเสียงได้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถส่งเป็นกลุ่มได้

การบริหารทั้งหมดนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และยังสามารถดาวน์โหลดได้บนระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์, iOS และใช้ในบราวเ

Zoom

Zoom เป็นแอพพลิเคชั่นที่ออกมาเปิดตัวเร็วมากในช่วงที่เริ่มมีการกักตัวหรือทำงานที่บ้าน แพลทฟอร์มนี้คุณสามารถที่จะสร้างห้องประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากได้

มากไปกว่านั้น Zoom ยังเป็นแอพพลิเคชั่นที่ให้ความสะดวกสบายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์หน้าจอ และการสนทนาระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม แพลทฟอร์มนี้สามารถใช้ได้ทั้งบนโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์

โดย Zoom ให้บริการแบบไม่มีค่าใช้จ่ายมดๆ แต่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้งานเป็นเวลา 40 นาที แต่ในขณะเดียวกันถ้าผู้ใช้งานต้องการที่จะใช้บริการสูงถึง 30 ชั่วโมง ผู้ใช้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวน US$199.99 ต่อปี และรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ถึง 300 คนด้วยกัน

Google Meet

แอพพลิชั่นนี้มีคล้ายคลึงกับ Zoom นั่นก็คือ ผู้ใช้สามารถจัดการประชุมในช่วงที่มีการทำงานที่บ้านได้ และ Google ยังคงมีแผนที่จะพัฒนาแพลทฟอร์มและนโยบานนี้ต่อไป

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการการโทรได้สูงถึง 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตั้งแต่ตอนนี้จนถึง 31 มีนาคม ปี 2564 และ Google ยังได้เพิ่มปุ่ม Meet ให้กับผู้ใช้ Gmail ทุกคน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2563

ในส่วนของค่าบริการ ถ้าผู้ใช้งานต้องการจะใช้แพ็กเกจ G Suite Essentials ราคาจะอยู่ที่ US$8 ต่อเดือน โดยผู้ใช้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้สูงถึง 300 ชั่วโมง และรองรับผู้เข้าร่วมประชุมสูงถึง 150 คน ในขณะที่แพ็กเกจ G suite Enterprise สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงถึง 250 คน และสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นในการจัดประชุมนานถึง 300 ชั่วโมง ทั้งนี้ทั้งนั้นในส่วนของราคา ผู้ใช้สามารถติดต่อฝ่ายขายได้เลยค่ะ

Slack

แพลทฟอร์มนี้มีความคล้ายคลึงกับ WhatsApp แอพพลิเคชั่น Slack ให้บริการในเรื่องของการแลกเปลี่ยนไฟล์งาน และสร้างห้องสนทนาภายในทีม

มากไปกว่านั้น Slack ยังมีการทำงานร่วมกับการบริการอื่นๆ อย่างเช่น Google Drive และ Dropbox เป็นต้น

Google Drive

ในปัจจุบันผู้ที่ทำงานที่บ้านจำเป็นต้องมีแพลทฟอร์มที่ใช้ในการเก็บและโอนถ่ายไฟล์งานขนาดใหญ่ และ Google Drive ก็เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้

ไฟล์ใน Google Drive สามารถแลกแชร์ผ่านบัญชี Gmail ได้ นอกจากนั้นแล้ว ผู้ใช้งานยังสามารถอัพโหลดไฟล์จาก Docs หรือ Sheet ได้โดยตรงเลยค่ะ

ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานได้สองรูปแบบ โดยแบบที่หนึ่งคือ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานสามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 15GB ในขณะเดียวกันอีกแบบหนึ่งจะเป็นการเก็บไฟล์ที่มีขนาด 100TB แต่ผู้ใช้งานจะต้องเสียค่าบริการอยู่ที่ $100 ต่อเดือน

Dropbox

Besides Drive, Dropbox can be an option for sharing work files. Cloud-based, this platform can upload, transfer and share files with others.

The file sharing feature can make it easier when you have to share work results with co-workers of any size. Dropbox also provides a feature to scan documents with the camera to convert receipts or written results to PDF.

นอกจาก Drive แล้ว Dropbox ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการแชร์ไฟล์งานได้ โดยแอพพลิเคชั่นนี้มี Cloud เป็นผู้ดูแลระบบ ในการถ่ายโอนและแชร์ไฟล์งาน

และด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการได้ง่ายข้น เมื่อผู้ใช้ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนงานกับเพื่อนร่วมงาน Dropbox ยังมีการให้บริการในเรื่องของการสแกนเอกสารโดยใช้กล้อง จากนั้นเปลี่ยนไฟล์ภาพเป็น PDF

Show More
Back to top button