กฎ 5 ข้อ ที่ทำให้คุณรวยขึ้น
กลยุทธ์ทางการเงินของคุณคืออะไร ถ้าคุณถามดิฉันเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ฉันก็คงหัวเราะและตอบว่า “เอาไว้ก่อน พรุ่งนี้ค่อยคิด”
ถ้าคุณไม่มีกลยุทธ์ทางการเงินเลย ก็อาจจะมีความเสี่ยงสูงที่คุณจะไม่มีทางรวยเลยเช่นกัน โดยเฉลี่ยแล้วคนเกิดในรุ่นของมิลเลนเนียล หรือ เจนเนอร์เรชั่นวาย จะมีรายได้โดยประมาณที่ 40,000-50,000 ดอลลาร์ต่อปี และมีหนี้ถึง 20,000-40,000 ดอลลาร์ต่อปี
แต่การที่รุ่นมิลเลนเนียลต้องการมีรายได้สูงกว่า 7 เท่าของรายได้เฉลี่ย ความจริงก็คือ คนเรานั้นมีช่วงอายุที่เท่ากัน แต่ความแตกต่างที่เป็นปัญหามากที่สุดก็คือ ช่องว่างของรายได้
หลังจากที่ดิฉันได้ตระหนักถึงปัญหานี้ ดิฉันก็เริ่มกังวลในเรื่องของการเงินขึ้นมาทันทีเลยค่ะ แต่ก่อนดิฉันไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้มากนัก ซึ่งดิฉันเชื่อว่ามันเป็นข้อผิดพลาดที่หลายๆคนก็คิดอย่างนี้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้วพวกเราคิดอยู่เสมอว่า เงินสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
“ปัญหาทุกอย่าง จะถูกแก้ก็ต่อเมื่อฉันมีเงินอยู่ในมือ” ต้องขอโทษด้วยนะคะ ที่ทำให้คุณผิดหวัง เพราะนั่นมันอาจไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะถ้าเงินในบัญชีของคุณมีมากขึ้น ปัญหาของคุณก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญค่ะ ไม่ใช่แค่เพื่อเงินในบัญชีของคุณ แต่เพื่อการพัฒนาสายอาชีพการงานของคุณในอนาคตด้วยต่างหาก เพราะว่าถ้าคุณมีการพัฒนาตัวเอง และมีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น คุณก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
เพราะฉะนั้นพวกเราควรจะหยุดคิดได้แล้วนะคะ กับคำที่ว่า เงินสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราแก้ปัญหาได้ก็คือ การเรียนรู้วิธีในการจัดการเงินของตัวคุณเองให้ดีขึ้นนั่นเอง แค่คุณรู้เรื่องพวกนี้ มันก็จะช่วยให้คุณไปอยู่เหนือกว่าคนที่มีรายได้เฉลี่ยโดยทั่วไปแล้วค่ะ
1. ลดความอยาก
มันใช้เวลานานกว่าเราจะหาเงินได้แต่ละบาท แต่พอตอนเราใช้จ่ายเงินออกไปมันง่ายและรวดเร็วมากเลยใช่ไหมละคะ ยกตัวอย่างเช่น คุณทำงานเป็นเวลาหลายพันชั่วโมง เพื่อแลกกับเงินจำนวนหนึ่งในแต่ละเดือน หลังจากนั้นคุณก็นำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายเพียงไม่กี่นาที เช่น การซื้อรถคันใหม่ หรืออาจจะเป็นวันหยุดที่แสนจะหรูหรา นาฬิกาที่แสนจะแพง เพราะความอยากเพียงอย่างเดียว
“พวกเราใช้เงินเหมือนมันหามาได้ง่ายๆ” ประโยคนี้ฟังดูคุ้นๆกันใช่ไหมละคะ ส่วนใหญ่คุณตาคุณยายของเราจะพูดกันบ่อยๆ แต่วิธีที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มเงินในบัญชีของคุณเองก็คือ การไม่นำเงินที่คุณมีทั้งหมดไปใช้ นั่นเป็นคำแนะนำที่อาจจะดูแข็งๆหน่อย แต่อย่างที่เค้าพูดกันค่ะว่า อิสระที่แท้จริงก็คือการลดความต้องการของคุณให้น้องลงนั่นเอง
2. เข้าใจในเรื่องของระบบเศรษฐกิจ
คำถามก็คือ เมื่อไหร่ที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และเมื่อไหร่ที่มันลดลง ตราสารหนี้คืออะไร ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วอะไรคือวัฐจักรตลาด ทำไมเศรษฐกิจถึงตกต่ำ หนี้คืออะไร ใครเป็นคนผลิตเงิน และทำไมถึงต้องผลิตเงิน ดิฉันสามารถถามคำถามเหล่านี้ได้อีกมากมาย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นค่ะ ประเด็นที่สำคัญก็คือ คุณเข้าใจมันแล้วหรือยัง คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ (เพราะดิฉันก็ไม่ใช่เหมือนกันค่ะ) แต่คุณควรจะหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ เช่น อ่านหนังสือ A Random Walk Down Wallstreet ที่เขียนโดย Burton Malkiel ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้สรุปเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและการลงทุนได้อย่างดีเลยทีเดียว หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ การเข้าไปหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซด์ของ Investopedia ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่น่าสนใจอีกเว็บหนึ่ง คุณสามารถเข้าไปหาคำตอบที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและการลงทุนได้ทั้งหมดเลยในเว็บเดียว
จุดประสงค์ของการเข้าใจเรื่องนี้ก็คือ คุณจะได้ไม่เครียดหรือตกใจจนเกินไป เวลาที่เศรษฐกิจถดถอย เพราะภาวะเครียด หรือตกใจ มันไม่ได้ทำอะไรให้ดีขึ้้นค่ะ
3. หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้
ไม่มีอะไรที่ทำลายความร่ำรวย ไปมากกว่าการสร้างหนี้ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ได้หมายความว่า การยืมเงินเป็นสิ่งที่ผิดค่ะ ถ้าคุณต้องการจะเริ่มทำธุรกิจ หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ วิธีที่ฉลาดและจำเป็นที่สุดก็คือ การกู้ยืมเงิน แต่เราก็ต้องเป็นผู้ยืมอย่างชาญฉลาดด้วยเช่นกัน ซึ่งมันมีกฎในตัวของมันเอง
และแน่นอนสิ่งแรกก็คือ อย่ากู้ยืมเงิน เพื่อซื้อรถ หรือ สิ่งของที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าในอนาคตได้
แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่ซับซ้อนและมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ อย่างเช่น การเริ่มทำธุรกิจ, การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือเเม้แต่การศึกษาเล่าเรียน คิดอย่างรอบคอบเสียก่อนที่เราจะกู้ยืมเงินส่วนนั้นมา จำไว้เลยว่าการกู้ยืมเงินไม่ใช่อะไรที่เราได้มาฟรีๆ
4. เก็บเงินให้ได้มากที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้
อย่างที่เราพูดกันมาจากข้อแรกมาจนถึงข้อนี้ ลดความอยาก หลีกเลี่ยงหนี้ และเก็บเงินให้ได้มากที่สุด เราจะเห็นได้ว่า ทุกอย่างมันมีเหตุมีผลในตัวของมัน
วิธีการเก็บเงินของคุณขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ สิทธิส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัย การศึกษา ประสบการณ์ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น คนที่อาศัยอยู่ที่ Manhattan มักจะไม่ซื้ออพาร์ทเม้นท์ แต่จะเช่าอพาร์ทเม้นอยู่เเทน เพราะราคาของอพาร์ทเม้นที่นั่นแพงมากจนเกินไป
ถ้าต้องการซึ้ออพาร์ทเม้นในเมือง ส่วนใหญ่แล้วราคาอพาร์ทเม้นจะถูกกว่า การเช่าอยู่ อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะทำอะไร ใช้เงินอย่างไร คุณควรจะคำนึงถึงเงินที่คุณมี และความสามารถในการหาเงินของคุณว่าเพียงพอหรือไม่ จากนั้นคุณค่อยลงทุน เมื่อคุณเห็นโอกาส
5. มีกลยุทธ์ระยะสั้น
บทความนี้ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นสำหรับคนที่ต้องการเป็นนักเทรด หรือนักลงทุนที่เก่ง แต่พวกเราต้องการลงทุน เพื่อผลตอบแทนระยะยาว ไม่ใช่แค่ต้องการสร้างรายได้แค่วันนี้ หรือแค่ปีนี้
กลยุทธ์ในการลงทุน จะต้องมุ่งไปที่ระยะยาว ซึ่งนั่นก็หมายถึงการที่คุณเริ่มจากการบริหารจัดการรายได้ของแต่ละวัน เพื่อที่เราจะสามารถไปใช้จ่ายบิลได้ในอนาคต คำถามก็คือ แล้วคุณต้องทำยังไงล่ะ นั่นแหละคือกลยุทธ์ระยะสั้นของคุณ
กลยุทธ์ด้านการเงินในระยะสั้นของดิฉันก็คือ การพัฒนาความสามารถของตัวเอง และหารายได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง ดิฉันได้ลงทุนเยอะแยะมากมายในด้านการศึกษา เพราะดิฉันเชื่อว่า ยิ่งคุณมีความสามารถมากขนาดไหน กำลังการสร้างรายได้ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ดิฉันเองไม่ได้ต้องการเงินเดือนที่สูงมาก แต่สิ่งที่ดิฉันทำก็คือ การหารายได้หลายทางนั่นเอง เพราะมันคือการกระจายความเสี่ยง หรือความหมายอีกนัยหนึ่งก็คือ ความเสี่ยงน้อย เพราะถ้าวันนึงรายได้ที่คุณได้จากทางเดียวหายไป คุณก็ยังมีรายได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน
กฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการเพิ่มรายได้ แต่มันบ่งบอกถึงความสำคัญของการสร้างรายได้หลายทาง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนที่คุณจะไปโฟกัสที่การหารายได้มากขึ้น ให้คุณโฟกัสที่การจัดการเงินที่คุณมีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของตัวเองค่ะ