แผนการบริหารการเงินที่เราควรมี
แผนการ คือสิ่งสำคัญที่เราควรจะมีกับทุก ๆ เรื่องครับ เพื่อให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีระเบียบ แบบแผนครับ โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญกับเราอย่างการเงิน ซึ่งหากขาดการวางแผน ก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราได้ สำหรับวันนี้ มาดูเรื่องราวของแผนการบริหารการเงินที่เราควรมี เพื่อให้ทุกจังหวะการใช้ชีวิตของเรานั้นราบรื่นกันครับ
1.ไม่ลืมที่จะตรวจสอบอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (DTI) ของคุณอยู่เสมอ
แผนการบริหารการเงินที่เราควรมีอันดับแรก ก็คือเราต้องมีการตรวจสอบการใช้เงินของตนเองอยู่เสมอ หนึ่งในภัยร้ายที่มักทำลายผู้คนมาหลายยุคหลายสมัย ก็คือการใช้เงินเกินตัวครับ ยิ่งในยุคสมัยที่เราสามารถใช้บัตรเครดิต หรือกู้เงิน ผ่อนสินค้าต่าง ๆ ได้ ทำให้บางครั้งเราก็ใช้เงินในอนาคตอย่างเพลิดเพลิน รู้ตัวอีกที รายได้ต่อเดือนของเราก็หมดไปกับหนี้และค่าผ่อนต่าง ๆ จนแทบไม่เหลือติดตัวเสียแล้ว ซึ่งการเช็ค DTI นั้นช่วยได้ครับ
อัตราส่วน DTI หรือ “อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม” (Debt to Income Ratio : DTI)เป็นมาตรการทางการเงินส่วนบุคคล ที่เปรียบเทียบการชำระหนี้รายเดือนของแต่ละบุคคลกับรายได้รวมต่อเดือน โดยคิดจากหนี้รายเดือน หารด้วยรายได้รวมต่อเดือนของเราครับ ด้วยการตรวจเช็คนี้ จะทำให้เรารู้ว่าตนเองกำลังใช้เงินเกินตัวอยู่หรือไม่นั่นเอง
2.กระจายความเสี่ยงในการลงทุน
มีคำกล่าวว่า เราไม่ควรทุ่มเทสุดตัวจนไม่เหลือทางถอยหนีให้กับตัวเอง ในการลงทุนก็เช่นเดียวกันครับ หากเราทุ่มเทเงินหมดหน้าตักลงในการลงทุนประเภทเดียว เราก็กำลังแบกรับความเสี่ยงมหาศาล เพราะหากการลงทุนนั้นของเราไม่ประสบความสำเร็จ เราก็จะเสียทั้งเงิน เวลา และสุขภาพจิตครับ และเนื่องจากเศรษฐกิจโลกของเรานั้นแปรผันได้แบบไม่ทันคาดคิด ดังนั้น เพื่อเป็นการเซฟตัวเอง เราก็สามารถอาศัยวิธีการกระจายความเสี่ยงได้ โดยแบ่งเงินออกเป็นส่วน ๆ เพื่อเลือกนำไปลงทุนในธุรกิจที่ต่างกัน เช่น ส่วนนึงนำไปลงทุนกับสิ่งที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนก็ช้า อย่างเช่นพันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุน และอีกส่วนหนึ่งนำไปลงทุนกับธุรกิจสุดร้อนแรงที่โตไว แต่ความปลอดภัยอาจไม่เทียบเท่าอย่างฟอเร็กซ์ครับ
3.มีเงินทุนสำรองเสมอ
โลกของเรานั้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนครับ เราควรแบ่งเงินออกเป็นหลาย ๆ ส่วน คือเก็บออม ลงทุน และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการมีเงินทุนสำรองเผื่อไว้เสมอครับ ซึ่งควรจะเป็นบัญชีที่แยกออกมา และมีจำนวนเงินอยู่ที่ประมาณรายจ่ายของเรา 3 – 6 เดือนครับ เช่น หากเรามีรายจ่ายอยู่เดือนละ 10,000 บาท เราก็ควรมีเงินสำรองอยู่ที่ 3 0,000- 60,000 บาท เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินไม่คาดฝัน เช่นการว่างงานนั่นเอง
และนี่ก็คือเรื่องรางของแผนการบริหารการเงินที่เราควรมีในเบื้องต้น เพื่อการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินที่ดีครับ