ประเทศไหนที่มีพนักงานเพศหญิงทำงานมากที่สุด?
9 ใน 10 ของพนักงานเพศผู้หญิง (ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่ม OECD) ส่วนใหญ่แล้วมาจากแถบยุโรป จากรายงานของ Women Economic Forum (WEF) wef.org.in พบว่า ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังลดช่องว่างระหว่างเพศหรือพัฒนาความเท่าเทียมกันระหว่างเพศนั่นเอง
ดัชนีพนักงานหญิงของ PwC ในปี 2019
ดัชนีพนักงานหญิงของ PwC ในปี 2019 โชว์ว่า สองประเทศที่ครองตำแหน่งสูงสุดและไม่มีใครสามารถแทนที่ได้ นั่นก็คือ ไอซ์แลนด์ ซึ่งมาเป็นอันดับ 1 ในเรื่องของความแข็งแกร่งของอัตราการเติบโตของการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในที่ทำงาน และยังลดอัตราการตกงานของผู้หญิงอีกด้วย
ในขณะที่สวีเดนมาเป็นอันดับสอง โดยสวีเดนมีนโยบายให้พนักงานชายลาหยุดหรือพักเบรกจากงานเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว
และตอนนี้นอกจากสองประเทศที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีนอร์เวย์ที่เคยขึ้นมาเป็นท็อป 5 แต่กลับต้องแพ้สโลวีเนีย เพราะสโลวีเนียได้เพิ่มจำนวนพนักงานหญิงในที่ทำงานต่างๆ
นิวซีแลนด์เป็นประเทศเดียวที่ไม่ได้รวมอยู่ใน OECD ซึ่งอยู่บนดัชนีอันดับที่ 3 และสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ลักเซมเบิร์กและโปแลนด์ก็มีการลดช่องว่างระหว่างเพศและลดอัตราการว่างงานของผู้หญิงด้วยเช่นกันค่ะ
แต่ในทางกลับกันโปรตุเกส, สหรัฐฯ และออสเตรเลียกลับมีการเพิ่มขึ้นของช่องว่างระหว่างเพศมากขึ้น มากไปกว่านั้นสหรัฐฯ และออสเตรเลียยังประสบปัญหาการทำงานของพนักงานหญิงและอัตราการทำงานประจำของผู้หญิงลดลง
PwC เล็งเห็นการดำเนินงานของสองประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วม
OECD ได้แก่ ประเทศจีนและอินเดีย
ประเทศจีน ซึ่งมีอันดับอยู่ระหว่างประเทศสโลวาเกีย (26) และญี่ปุ่น (27) มีช่องว่างระหว่างเพศสูงกว่าค่าเฉลี่ย (ในกลุ่ม OECD) (25%) และมีสัดส่วนค่อนข้างสูงของพนักงานหญิงในที่ทำงานประจำ (89%)
ในขณะที่อินเดียอยู่อันดับต่ำสุดของดัชนี PwC ซึ่งมีช่องว่างระหว่างเพศสูง (36%)(สูงกว่า ประเทศอื่นๆใน OECD) และมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำของพนักงานหญิงในที่ทำงาน
ถ้าอินเดียสามารถเพิ่มอัตราการทำงานของผู้หญิงให้เท่ากับสวีเดนได้ (69%) อินเดียจะมีรายำด้เพิ่มขึ้น 7 ล้านล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 79% ของ GDP ในปัจจุบัน
และนี่คือ 10 ประเทศทั่วโลกที่มีพนักงานหญิงทำงานมากที่สุด
1. ไอซ์แลนด์
2. สวีเดน
3. นิวซีแลนด์
4. สโลวาเกีย
5. นอร์เวย์
6. ลักเซมเบิร์ก
7. เดนมาร์ค
8. โปแลนด์
9. ฟินแลนด์
10. เบลเยี่ยม