ภัยคุกคามของธนาคารแถบเอเชียแปซิฟิก
การแข่งขันของธนาคารในระบบดิจิตอลมีความรุนแรงเป็นอย่างมากทั่วแถบเอเชียแปซิฟิก รายงานจาก EIU เผยว่า การแข่งขันระหว่างธนาคารปลีกย่อย, บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และอีคอมเมิร์ซ มีความเข้มข้นเป็นอย่างมาก และผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่า การต่อสู้ครั้งนี้อาจเป็นภัยต่อตลาดการแก้ปัญหาการจ่ายชำระหนี้ของเอเชียแปซิฟิก เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีภัยคุกคามอะไรบ้าง
เทคโนโลยีและระบบการจ่ายชำระเงินออนไลน์ขนาดใหญ่
เทคโนโลยีและระบบจ่ายชำระเงินออนไลน์ขนาดใหญ่เป็นภัยที่ร้ายแรงที่สุดต่อธนาคารเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีภัยถึง 60% จากภัยร้ายทั้งหมด
เทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งรวมไปถึง Google, Alibaba, และ Apple โดย Apple เป็นภัยคุกคามที่สูงที่สุดถึง 32% ส่วนระบบชำระเงินแบบออนไลน์อย่างเช่น Paypal, Ripple และ Alipayซึ่งมีภัยอยู่ที่ 28% มากไปกว่านั้น Neo-banks ซึ่งรวมไปถึง Volt bank, Varo Money และ Monza ยังเป็นภัยต่อธนาคารเอเชียแปซิฟิกสูงถึง 25%
และทางธนาคารเอเชียแปซิฟิกได้มีการวางแผนจัดการแก้ปัญหาโดยการจัดการกลยุทธ์ที่ทางธนาคารมี จนกระทั่งในปี 2020 ได้ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบดิจิตอลประมาณ 37%
เทคโนโลยีรูปแบบใหม่
เทคโนโลยีรูปแบบใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชียแปซิฟิก เพราะฉะนั้นจึงส่งผลให้เกิดภัยต่อธนาคารในแถบเอเชัยแปซิฟิก ซึ่งรวมไปถึง artificial intelligence (AI), machine learning, และ blockchain และส่วนใหญ่ระบบการชำระเงินแบบออนไลน์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินการ ซึ่งส่งผลให้กลยุทธ์ทางการตลาดและการมีส่วนร่วมของลูกค้าดีขึ้น แลพมีรายงานอีกว่า ภายในปี 2025 ธนาคารปลีกย่อยจะสูญเสียการแข่งขันทางการตลาดถ้าพวกเขานำเทคโนโลยีเข้ามาใช้
ในปัจจุบันประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกได้พยายามติดตามกฎของเทคโนโลยีโลก โดยพวกเขาพยายามที่จะปรับเปลี่ยนกฎระเบียบในเรื่องของการปกป้องข้อมูลและการจ่ายภาษีในระบบดิจิตอล ซึ่งพวกเขาต้องการให้กฎเหล่านั้นได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออุตสาหกรรมด้านธนาคารในอนาคต
ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกบางประเทศได้มีการดำเนินการด้านกฎระเบียบเหล่านั้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน พวกเขาตั้งกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดในเรื่องของใบอนุญาตและการป้องกันข้อมูล ทั้งสองรูปแบบนี้ได้มีการใช้กับ Alipay และ WeChat ทั่วทัังภูมิภาค