ความต้องการทองคำพุ่งทะยานขึ้น เนื่องจากเกิดโรคระบาดในประเทศอินเดีย
ในประเทศอินเดีย การล็อกดาวน์ส่งผลให้ประเพณีต่างๆ ถูกยกเลิก ยกตัวอย่างเช่น เทศกาลดีปาวลี และการแต่งงานเป็นต้น เนื่องด้วยวิกฤตที่เกิดขึ้นในช่วงของโรคระบาด อย่างเช่น มีการกักตัวเป็นระยะเวลาหลายเดือน, ประชากรในประเทศตกงาน และการเอาตัวรอดจากความลำบากในชีวิต ส่งผลให้ผู้บริโภคทองคำเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เพราะประเพณีต่างๆ ถูกเลื่อนออกไป มากไปกว่านั้นในตลาดทองคำของประเทศอินเดีย ความต้องการทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะหนักหนาเพียงใด ชาวอินเดียก็ไม่เคยล้มเลิกพฤติกรรมการซื้อทอง
ในปี 2564 ยอดขายทองคำพุ่งสูงขึ้นถึงจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยสภาทองคำโลกได้บันทึกข้อมูลเริ่มตั้งแต่ปี 2548 และในปี 2564 ผู้บริโภคต้องการซื้อทองสูงเทียบเท่ากับทองจำนวน 340 ตัน หรือเกือบเท่ากับช้างจำนวน 5 เชือกต่อสัปดาห์ และอินเดียเป็นประเทศที่ซื้อทองสูงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีน
ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความต้องการทองคำเพิ่มสูงขึ้น ทองคำใช้เป็นเครื่องประดับให้กับเจ้าสาวและเป็นของหมั้น จากนั้นในเทศกาลอื่นๆ ของอินเดียใช้ทองคำเป็นเครื่องประดับ นอกจากนั้นชาวอินเดียยังเชื่อว่า การเก็บทองเป็นการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ในอนาคต เพราะในช่วงของการเกิดวิกฤตต่างๆ พวกเขาสามารถขายเครื่องประดับของพวกเขาได้
ราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้นจาก 32% เป็น 61% ตามลำดับในปี 2563 เมื่อราคาทองพุ่งสูงขึ้น พวกเขาจะขายทองออกไป และด้วยสงครามรัฐเซียและยูเครนทำให้ทองมีราคาพุ่งสูงขึ้นในประวัติการณ์
อย่างไรก็ตามปัญหาในประเทศอินเดียก็คือ อินเดียไม่ได้ผลิตทองคำภายในประเทศ แต่นำเข้าทองคำจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นการนำเข้าทองคำที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของอินเดียได้ รัฐบาลพยายามควบคุมการนำเข้าทองคำด้วยการเก็บภาษี 10% ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายข้อบังคับเกี่ยวกับการนำเข้าทองคำ แต่ความต้องการทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหยุดไม่ได้ โดยเฉพาะในเขตชนบทของประเทศอิเดีย ทำให้ยังมีปัญหาการลักลอบขนทองเข้าประเทศ