ธนาคารกลางทั่วโลกปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น
ธนาคารกลางส่วนใหญ่ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือ U.S. Federal Reserve (Fed) ได้ตัดสินใจออกนโยบายเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน Fed ได้ตัดสินใจ “ครั้งยิ่งใหญ่” โดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้สูงขึ้นถึง 0.75% ทันที อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยได้ถูกมาปรับขึ้น 0.75% เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2537 มากไปกว่านั้นคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้จัดประชุมในสิ้นเดือนนี้ เพื่อเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 0.75% เป็น 1%
เมื่อวันที่ 17 (ตามเวลาท้องถิ่น) British Financial Times (FT) รายงานว่า ธนาคารกลางใน 55 ประเทศทั่วโลกได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.5% เป็นจำนวน 62 ครั้งในรอบสามเดือน หรือช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ต่อมาในช่วงเดือนกรกฎาคม ธนาคารกลางของแต่ละประเทศได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.5% เป็นจำนวน 17 ครั้งเป็นที่เรียบร้อย FT เผยอีกว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปีที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในจำนวนที่มากขนาดนี้
ธนาคารในประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่กำลังพยายามปรับอัตราดอกเบี้ยให้เท่ากับ Fed เนื่องจากเมื่ออัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์เมื่อจับคู่ก้บสกุลเงินอื่นๆ จะแข็งมาก มากไปกว่านั้นประเทศฮื่นๆ อยู่ภายใต้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งขึ้นจากการลดลงของค่าสกุลเงินของประเทศนั้นๆ
ธนาคารกลางของเกาหลีเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.5% เมื่อวันที่ 13 ในขณะที่แคนนาดาได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ย 1% นอกจากนั้นชิลีและฟิลิปปินส์เพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.75% เมื่อวันที่ 14 และในวันที่ 2 ธนาคารกลางของนิวซีแลนด์ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อมาวันที่ 12 ธนาคารของฮังการีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2% และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีก 3.85% ในรอบสองเดือน ในเดือนมิถุนายน ประเทศออสเตรเลีย, นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.5%
“ณ ตอนนี้ 0.5% เปรียบเสมือน 0.25% ใหม่ในตลาด” Jane Foley ผู้จัดการอาวุโสด้านการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ณ Labo Bank กล่าว “จนถึงตอนนี้ ธนาคารกลางได้กำหนดการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย แต่ตอนนี้ถือว่า 0.5% เป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยขั้นพื้นฐาน”