Forex และตลาดการเงิน

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อสกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์

มาดูกันว่าปัจจัยสำคัญใดบ้าง ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสกุลเงินต่างๆ

Thai Trading Focus

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อสกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์

โดยปกติแล้ว ราคาของสินค้า และบริการในตลาด จะแปรผันไปตามอุปสงค์ และอุปทานในตลาดถูกมั้ยครับ สกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์ก็เช่นกัน การที่มีอุปสงค์ของสกุลเงินมีมากกว่าอุปทาน ค่าสกุลเงินนั้นก็จะถีบตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด ในทางกลับกัน หากว่าสกุลเงินมีอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ค่าสกุลเงินก็มีแนวโน้มจะปรับลดลงนั่นเอง

แต่อุปสงค์ และอุปทานนั้น เป็นการมองในภาพกว้าง ๆ เท่านั้น หากเรามองลึกลงไปอีก ก็จะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อค่าสกุลเงินในตลาดเช่นเดียวกันครับ เรามาดูปัจจัย 4 ประการสำคัญที่ทำให้ค่าสกุลเงินเกิดความปั่นป่วนกันดีกว่า

1.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ


สิ่งที่นักเทรดฟอเร็กซ์ควรให้ความสนใจในปัจจัยทางเศรษฐกิจ ก็คือการดู “การเติบโต” เพราะคำ ๆ นี้เป็นหัวใจที่ส่งผลต่อราคาของสกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์อย่างมาก เพราะหากนักเทรดเล็งเห็นว่า การเติบโตในประเทศนั้น ๆ ดูจะชะลอตัว หรือเป็นลบ ค่าของสกุลเงินก็มีแนวโน้มที่จะต่ำลงเช่นกัน นักเทรดก็จะขายสกุลเงินดังกล่าวนั่นเอง ในทางกลับกัน หากเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น ค่าของสกุลเงินก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะนักเทรดจำนวนมากจะเลือกซื้อสกุลเงินดังกล่าวมาเก็บไว้ ทำให้อุปทานต่อเงินสกุลนั้นสูง ราคาก็เลยสูงตาม ซึ่งปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ มีอยู่สองอย่างครับ คือ ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค และดุลบัญชีเดินสะพัด

ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค

ตัวเลขค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถวัดอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจได้ครับ เพราะในภาวะที่เศรษฐกิจดี ผู้คนก็จะจับจ่ายซื้อของกันมากขึ้น ในขณะที่หากเศรษฐกิจแย่ คนก็เลือกจะประหยัดและใช้จ่ายน้อยลง

คำถามคือ แล้วมันส่งผลต่อราคาของสกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์อย่างไรล่ะ?

อันนี้เราต้องกลับไปสู่เบสิคของเรื่องเศรษฐกิจเลยครับ ในภาวะที่เศรษฐกิจดี ก็จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้าถูกมั้ย และฟอเร็กซ์ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ทำให้เวลาที่เศรษฐกิจในประเทศไหนดี ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคสูง มีเงินสะพัดมาก นักเทรดจะเล็งเห็นว่าเงินของประเทศนั้น ๆ น่าลงทุน จึงไปซื้อเก็บไว้ อุปสงค์ที่สูงนี้ ทำให้สกุลเงินดังกล่าวจึงแข็งค่าขึ้นนั่นเอง

ในทำนองเดียวกัน หากตัวเลขค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในสภาวะฝืดเคือง ความรู้สุกของนักลงทุนต่อสกุลเงินในประเทศดั่งกล่าวจึงเป็นไปในทางลบ และมูลค่าขิงสกุลเงินนั้นก็จะอ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ครับ

ดุลบัญชีเดินสะพัด

ดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นตัวชี้วัดจำนวนเงินที่ไหลออกนอกประเทศ เมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ไหลเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเราจะเรียกกรณที่เงินไหลเข้าจากต่างประเทศมากกว่าเงินในประเทศที่ไหลออกว่า “เกินดุล” แต่หากเป็นกรณีที่เงินไหลเข้าน้อยกว่าไหลออก เราจะเรียกว่า “ขาดดุน”

การที่บัญชีเดินสะพัดขาดดุนอย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่การเสื่อมมูลค่าของสกุลเงินในประเทศ เนื่องจากรายได้ภายในประเทศได้ไหลออกไปเพื่อใช้จ่ายในรูปแบบของสกุลเงินต่างประเทศนั่นเอง

2.ปัจจัยทางการเมือง

แน่นอนว่าการเมืองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อทุกการลงทุนครับ พอเกิดวิกฤตการเมืองขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็จะลดลง ทำให้เงินทุนต่าง ๆ จากต่างประเทศชะงัก หรือถูกถอนออกไป และนั่นก็จะทำให้มูลค่าของสกุลเงืนดังกล่าวอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ

นอกจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองแล้ว ก็ยังมีสภาวะที่อ่อนไหว เช่น การเลือกตั้งที่จะส่งผลต่อขั่วอำนาจหลักภายในประเทศ ใช่แล้ว… รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งนั่นส่งผลกระทบต่อมูลค่าของเงินเช่นกันครับ โดยจะเป็นผลบวก หรือ ผลลบ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ ด้วยเหตุนี้ เวลาที่ประเทศต่าง ๆ เข้าสู่ช่วงการเลือกตั้ง นักเทรดฟอเร็กซ์จะต้องคอยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อประมาณการแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น

3.ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ ล้วนแล้วแต่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศทั้งทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานในประเทศ และทางเสรษฐกิจ ที่น่ากลัวคือสิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และทำให้ค่าเงินสวิงโดยที่คุณอาจไม่ทันตั้งตัว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นในประเทศใด แน่นอนว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนต้องลดลง อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเงินที่ควรใช้ในการขับเคลื่อนเศราฐกิจมาใช้กับการฟื้นฟูสาธารณูประโภค การใช้เงินเพื่อนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นเพื่อทดแทนความเสียหายในประเทศตน เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินดังกล่าวในตลาดฟอเร็กซ์ปรับลดลง

4.การเก็งกำไร

การเก็งกำไรของนักลงทุนก็เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อค่าสกุลเงินเช่นกัน และในโลกของฟอเร็กซ์นั้น การเก็งกำไรจะเกิดขึ้นอย่างเป้นธรรมชาติ เช่น ในภาวะที่นักลงทุนเล็งเห็นว่า เศรษฐกิจภายในประเทศหนึ่งนั้นมีการเติบโตเร็วเกินไปจนมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะฟองสบู่ นักลงทุนก็จะหยุดลงทุน เพราะคาดการณ์ว่า รัฐบาลจะต้องมีการออกนโยบายเพื่อลด และชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดภาวะที่อุปทานสูงกว่าอุปสงค์ และทำให้มูลค่าของสกุลเงินลดลงนั่นเอง

ยกตัวอย่างกรณีการเก็งกำไรครั้งใหญ่ที่สะเทือนทั้งโลก ในปี 1992 ที่พ่อมดแห่งเงิตรานามว่า จอร์จ โซรอส ได้ทุบค่าเงินปอนด์ของอังกฤษ และทำกำไรไปได้นับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจของประเทศอังกฤษไว้ถึง 3.4 พันล้านปอนด์ ตามการประเมิณของกระทรวงการคลังแห่งอังกฤษ ซึ่งเหคุการณ์ในครั้งนั้นได้รับการขนานนามในภายหลังว่า “พุธทมิฬ (Black Wednesday)”

 

และนี่ก็คือปัจจัยหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อค่าเงินในตลาดฟอเร็กซ์ครับ ดังนั้น นักเทรดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามข่าวสารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการคาดการณ์สภาวะตลาด และทำการเทรดอย่างปลอดภัย เก็บกำไรสู่พอร์ตแบบงาม ๆ 😀

 

 

 

 

Show More
Back to top button