บทบาทการคิดคำนวณในการเทรดฟอเร็กซ์
และหัวข้อที่เป็นที่สงสัยกันในกลุ่มนักเทรดฟอเร็กซ์กันหลายคนก็คือ บทบาทการคิดคำนวณในการเทรดฟอเร็กซ์
เพราะฉะนั้นในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงสองหัวข้อหลักๆนั่นก็คือ วิธีการคำนวณ และการคำนวณนั้นมีประโยชน์อย่างไร
การคิดคำนวณควรใช้เพื่อกำหนดขนาดความเสี่ยงที่จะเกิดผลขาดทุน
การกำหนดขนาดความเสี่ยงของผลขาดทุนในทุกๆครั้งที่คุณเทรดเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างผลกำไร เพราะฉะนั้นการที่คุณประเมินความเสี่ยง นันก็หมายความว่า คุณต้องประเมินว่า คุณพร้อมที่จะขาดทุนเท่าไหร่ในการเทรดแต่ละครั้ง
ยกตัวอย่างเช่น คุณมีเงิน $10,000 อยู่ในบัญขีฟอเร็กซ์ แล้วความเสี่ยงต่อการเทรดหนึ่งครั้ง คุณพร้อมที่จะเสี่ยงในจำนวนเท่าไหร่
อย่างไรก็ตามนักเทรดส่วนใหญ่แนะนำที่ 1-2% ต่อหนึ่งการเทรด เพราะฉะนั้นถ้าคุณตั้งความเสี่ยงอยู่ที่ 1% ความเสี่ยงที่คุณอาจขาดทุนก็คือ $100 ต่อหนึ่งการเทรด
ต่อมาเรามาทำความรู้จักการคำนวณความเสี่ยงในรูปแบบ pip ต่อหนึ่งการเทรดกันดีกว่าค่ะ ซึ่งการคำนวณก็คือ จุดเปิดออเดอร์ลบกับค่า stop loss ที่คุณกำหนดไว้นั่นเอง เรามาดูตัวอย่างกันเลยค่ะ สมมุติว่า คุณต้องการซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.4015 และคุณได้กำหนดค่า stop loss ที่ 1.4025 เพราะฉะนั้นความเสี่ยงการเทรดอยู่ที่ 10 pips (1.4025-1.4015) นั่นเองค่ะ
การคำนวณสามารถนำมาใข้ในการเทรดได้อย่างไร?
เรามาพูดถึง CORRELATION หรือค่าความสัมพันธ์กันเถอะค่ะ
คุณอาจจำได้ว่า คุณครูที่โรงเรียนเคยพูดถึง correlation อยู่ไม่มากก็น้อย ซึ่งค่า correlation เป็นตัวเลขที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว โดยผลของมันอาจเป็นบวก, ลบ หรือเป็นศูนย์ก็ได้
ถ้า ค่า correlation เป็น +1 เราเรียกว่า “perfect positive correlation”
ค่า correlation เป็น 0 เราเรียกว่า “no correlation”
ค่า correlation เป็น -1 เราเรียกว่า “perfect negative correlation”
ในฟอเร็กซ์มักจะมีการซื้อขายในรูปแบบของคู่สกุลเงินอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น EUR/USD, GBP/USD และ USD/JPY เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้มีการเชื่อมกันโดยการคำนวณนั้นเอง ซึ่งแต่ละคู่สกุลเงินต่างก็มีค่า correlation ซึ่งอาจเป็นบวก, ลบ หรือศูนย์ก็ได้ และถ้าค่า correlation เป็นบวกนั่นก็หมายความว่า ทั้งสองสกุลเงินนั้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่ถ้าค่า correlation เป็นลบนั่นก็หมายความว่า ทั้งสองสกุลเงินนั้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกัน
เรามาดูตัวอย่างกันเลยค่ะ
EUR/USD และ GBP/USD เป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งสำหรับค่า correlation ที่เป็นบวก ซึ่งหมายความว่า เมื่อมูลค่า EUR/USD เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของ GBP/USD ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นวิธีที่คุณใช้ในการเทรดก็อาจจะต้องไปในทิศทางเดียวกันหรือเหมือนกันนั่นเองค่ะ
ในทางตรงกันข้าม EUR/USD และ USD/CHF มีค่า correlation ที่เป็นลบ ซึ่งหมายความว่า เมื่อมูลค่า EUR/USD เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของ USD/CHF ก็จะลดลง เพราะฉะนั้นคุณไม่ควรทำการเทรดทั้งสองสกุลเงินนี้พร้อมกัน
เห็นไหมล่ะคะว่า ค่า correlation ของคู่สกุลเงินนั้นสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินให้แก่นักเทรดฟอเร็กซ์และนักลงทุนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการเข้าใจค่า correlation ในฟอเร็กซ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายๆอย่าง เพราะฉะนั้นคุณควรเช็คค่า correlation อย่างสม่ำเสมอ
การเข้าใจบทบาทการคำนวณในการเทรดฟอเร็กซ์สามารถช่วยคุณลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการขาดทุนได้ เพราะฉะนั้นเมื่อคุณรู้จักประโยชน์ของมันแล้ว คุณก็สามารถนำไปบริหารความเสี่ยงในการเทรดแค้่ละครั้ง เช่นเดียวกับการที่คุณรู้ว่าค่า correlations มีประโยชน์อย่างไรและคุณสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างไรนั่นเองค่ะ