ประเภทของโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์
ก่อนที่คณจะเริ่มทำการเทรดฟอเร็กซ์ได้ สิ่งแรกเลยที่คุณต้องทำ ก็คือการมองหาโบรกเกอร์เพื่อเปิดบัญชีเทรดครับ เพราะอย่างที่เคยบอกกันไปว่า นักเทรดรายย่อยอย่างเรา ๆ นั้น ไม่สามารถทำการติดต่อซื้อขายกับตลาดได้โดยตรง จึงต้องอาศัยคนกลางอย่างโบรกเกอร์นั่นเอง
แล้วเราจะเลือกโบรกเกอร์อย่างไรดีล่ะ? นี่เป็นคำถามยอดฮิตตลอดกาลเลยครับ ซึ่งการเลือกโบรกเกอร์เพื่อเปิดบัญชีเทรดฟอเร็กซ์นั้น สามารถดูได้จากหลาย ๆ ด้าน เช่น ความเร็วในการผาก-ถอนเงิน ค่าสเปรด และฝ่ายงานบริการลูกค้า เป็นต้น แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว อีกอย่างที่สำคัญมากและคุณจะต้องรู้ ก็คือประเภทของโบรกเกอร์ ว่าเป็นแบบ A-Book หรือ B-Book ทั้งสองอย่างนี้คืออะไร แตกต่างกันที่ตรงไหน เรามาดูกันเลยครับ
1.A-book
โบรกเกอร์ปรถเภท A-Book ก็คือโบรกเกอร์ที่นำเอาคำสั่งซื้อของเราเข้าตลาด หรือ Liquidity providersโดยตรง โดยที่ตัวโบรกเกอร์นั้น จะทำกำไรจากการค่าบริกาน โดยกินค่าสเปรส และค่าคอมมิชั่นจากการเทรดของเทรดเดอร์ ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเทรดชนะ หรือเทรดขาดทุน โบรกเกอร์ก็จะไม่ได้รับ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต่าง ๆที่ส่งผลต่อค่าเงินทั้งตลาด คุณก็สามารถวางใจได้ว่า โบรกเกอร์ A-Book จะไม่ปิดและชิ่งคุณไปไหนนั่นเอง
2.B-Book
โบรกเกอร์ B-Book หรือที่บางคนอาจจะเรียกว่า โบรกเกอร์ผิดกฏหมายนั้น เป็นโบรกเกอร์ที่ไม่มีการส่งคำสั่งซื้อขายเข้า Liquidity Providers แต่ตัวโบรกเกอร์นั้นต่างหากที่รับเป็นเจ้ามือในการเทรดเอง ซึ่งครงนี้จะทำให้เกิดความแตกต่างจาก โบรกเกอร์ A-Book ครับ เพราะแบบ A-Book โบรกจะมีหน้าที่เป็นตัวกลางจริง ๆ ในขณะที่ตรงกันข้ามกันแล้ว B-Book ไม่เรียกว่าเป็นคนกลาง แต่เป็นเจ้ามือเสียเอง ดังนั้น หากว่าเทรดเดอร์ทรดแล้วชนะ โบรกก็จะเสีย แต่ถ้าเราเทรดแล้วขาดทุน โบรกก็จะยิ้มทันทีเพราะเขาจะได้กำไรนั่นเอง โบรกเกอร์ประเภทนี้จึงดูคล้ายกับเป็นการพนัน อีกทั้งโบรก B-Book บางแห่งยังมีความพยายามที่จะโกงนักเทรดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การดีเลย์คำสั่งซื้อขาย การดึงไส้แท่งเทีบน เป็นต้น
แล้วเราจะเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหนดี?
คำถามนี้หากถามผม ก็ต้องเป็น A-Book อยู่แล้ว เนื่องจากมีความปลอดภัยมากกว่าโบรกแบบ B-Book อีกทั้งเมื่อเราพูดถึงดบรกเกอร์ที่มักจะโกงคนเทรดแล้ว ส่วนมากก็เป็นโบรกแบบ B-Book ครับ แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าทุกคนจะต้องมาเทรดโบรกเดียวกับผมนะ เพราะสุดท้ายแล้ว ทุกสิ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคุณนั่นเอง