ชนิดของการวิเคราะห์ฟอเร็กซ์
ความหมายโดยพื้นฐานของการวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ก็คือ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทิศทางราคาของคู่สกุลเงินเพื่อที่จะคาดการณ์ทิศทางราคาคู่สกุลเงินนั้นในอนาคต โดยทั่วไปแล้วเป้าหมายของนักเทรดฟอเร็กซ์จากการวิเคราะห์นี้ก็คือ เพื่อที่จะทำกำไรนั่นเอง
ตลาดฟอเร็กซ์มีมูลค่าการเทรดในแต่ละวันสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ตลาดนี้เปนตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ตลาดฟอเร็กซ์ทำงานอย่างไร?
อย่างที่พวกเรารู้กันค่ะว่า ตลาดฟอเร็กซ์เปิดให้บริการเป็นเวลา 5 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งพวกเราสามารถเห็นตลาดใหญ่หลายแห่ง อย่างลอนดอน, นิวยอร์กซ์, ออสเตรเลีย และโตเกียว ทำให้พวกเราสามารถหาผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดฟอเร็กซ์เวลาใดก็ได้ตลอด 5 วันทำการ
และอย่างที่เรารู้กันว่าในโลกนี้มีสกุลเงินเยอะแยะมากมายให้เราเลือก เราจึงมีการเทรดสกุลเงินแบบเป็นคู่ โดยสกุลเงินหนึ่งถูกซื้อ ในขณะที่อีกสกุลหนึ่งถูกขายออกไป
การวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ นักเทรดต้องวางแผนเพื่อที่จะคาดการณ์กำไรที่พวกเขาคาดว่าจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางราคาของคู่สกุลเงิน โดยเมื่อค่าสกุลเงินหนึ่งแข็งขึ้น นักเทรดก็จะพากันซื้อสกุลเงินนั้น และขายอีกสกุลหนึ่งที่อ่อนตัวลงออกไป
ในตลาดฟอเร็กซ์มีสกุลเงินมากถึง 150 ชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นที่นิยมในการเทรด สกุลเงินเหล่านั้นได้แก่ USD, EUR, GBP, JPY, CHF, AUD, NZD และ CAD
คู่สกุลเงินไม่ได้เกี่ยวข้องกับสกุลเงินที่กล่าวมาด้านบน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีปริมาณการเทรดที่ต่ำ
ชนิดของการวิเคราะห์ฟอเร็กซ์
การวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเทรดขององค์กรและนักเทรด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์ฟอเร็กซ์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ทางเทคนิค และการวิเคราะห์พื้นฐาน
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
การวิเคราะห์ชนิดนี้ใช้ทิศทางราคาในอดีตในการคาดการณ์มูลค่าของคู่สกุลเงินในอนาคต ดังนั้นในการวิเคราะห์นี้นักเทรดจะโฟกัสที่เครื่องมือทางเทคนิคและกราฟทิศทางของราคาที่แตกต่างกันออกไป
การวิเคราะห์พื้นฐาน
การวิเคราะห์พื้นฐานจะใช้ปัจจัย ณ ปัจจุบันและอนาคตที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ นักเทรดมักใช้ปัจจัยเหล่านี้ในการวิเคราะห์อย่างเช่น อัตราดอกเบี้ย, GDP, อัตราเงินเฟื้อ และ indicator อื่นๆ
ในกลุ่มตัวแปรเหล่านี้ อัตราดอกเบี้ยเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สุด ดังนั้นนักเทรดมักจะใช้ตัวแปรนี้ในการตัดสินใจ
การวิเคราะห์ความรู้สึก
การวิเคราะห์นี้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ซื้อและขายสกุลเงินนั้นๆ และขึ้นอยู่กับความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางราคาในอนาคตของนักเทรด โดยมีปัจจัยทางด้านอารมณ์และความรู้สึกเข้ามา หรือเราอาจเรียกว่า crowd psychology