การตอบสนองต่อตลาดมากจนเกินไป (overreaction) คืออะไร
นักลงทุนบางครั้งก็ไม่มีเหตุไม่มีผล ถ้าเราตั้งสมมุติฐานของประสิทธิภาพของตลาด นักลงทุนจะตัดสินใจเทรดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆที่พวกเขาได้รับ แต่ความจริงแล้วพวกเขาแทบไม่ได้ใช้ข้อมูลข่าวสารนั้นๆเลย แต่สิ่งที่พวกเขาใช้ก็คือ อารมณ์และความรู้สึกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเทรดเท่านั้นเอง
พฤติกรรมทางการเงิน มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการตอบสนองต่อราคาโดยตรงและการตอบสนองต่อข่าวสารที่ได้รับ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือเราจะเห็นได้ว่า กองทุนหลายกองทุนใช้กลยุทธ์พฤติกรรมทางการเงิน ในการทำกำไรจากการตอบสนองเหล่านี้
โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาอยู่ในตลาดที่มีประสิทธิภาพน้อย และตลาดที่มีหุ้นขนาดเล็ก ซึ่งกองทุนที่ได้รับประโยชน์จากการตอบสนองมากเกินไป พวกเขามักจะมองหาบริษัทที่มีราคาหุ้นต่ำ โดยมีสาเหตุมาจากข่าวเชิงลบนั่นเอง
ข่าวร้ายเหล่านั้นมักจะเกี่ยวข้องกับผลตอบแทนหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ราคาหุ้นตกลงถึงราคามูลค่าของหุ้น
นอกจากการตอบสนองเกินจริงแล้ว พวกเราอาจเจอกับ under-reaction ที่อาจส่งผลกระทบระยะยาว ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้มักเกิดจากการเชื่อปักใจของนักเทรด หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ คนมักเชื่อในข้อมูลข่าวสารเก่าๆ
อาการเชื่อปักใจมักเกิดขึ้นเมื่อข้อมูลเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับโลกของเรา (หรือเป็นที่รู้กันคือ hermeneutic) ยกตัวอย่างแนวคิดของ ‘brick and mortar stores are no longer promising’
ข้อมูลเหล่านั้นอาจทำให้นักลงทุนพลากโอกาสในการทำกำไรจากการประเมินราคาหุ้นที่ต่ำจนเกินไป
เรามาดูตัวอย่างของการตอบสนองต่อตลาดที่มากจนเกินไปจนทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ ตัวอย่างนั้นมีตั้งแต่ทิวลิปมาเนียในช่วงศวรรษที่ 17 ในฮอลแลนด์ไปจนถึงการเพิ่มขึ้นของ cryptocurrencies ในปี 2560