Forex และตลาด

ระหว่างลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์กับลงทุนในฟอเร็กซ์ การลงทุนแบบไหนดีกว่ากัน?

Thai Trading Focus

ระหว่างลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์กับลงทุนในฟอเร็กซ์ การลงทุนแบบไหนดีกว่ากัน?

Investopedia เผยว่า โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนหวังผลตอบแทนที่มีขนาดแตกต่างกันออกไปตามระยะเวลาการถือครองสินทรัพย์ ในขณะเดียวกันนักเทรดก็จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงและการถดถอยของตลาด เพราะนักเทรดจะใช้เวลาในการเข้าและออกตลาดเป็นระยะเวลาอันสั้นกว่าการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ มากไปกว่านั้นผลตอบแทนที่พวกเขาจะได้รับมีจำนวนน้อยกว่า แต่พวกเขามีโอกาสได้รับผลตอบแทนบ่อยครั้งกว่า

เพราะฉะนั้นเรามาดูความแตกต่างระหว่างการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์และการลงทุนในฟอเร็กซ์กันดีกว่าค่ะ

การเข้าถึงตลาด

ในหนึ่งวัน ตลาดเงินทุนคือสถานที่ที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมีตลาดจะเปิดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนเป็นเวลา 7 ชั่วโมงโดยประมาณ หลังจากที่ตลาดปิด นักลงทุนจะไม่สามารถทำรายการซื้อขายใดๆได้ ซึ่งถือว่าเวลานี้เป็นเวลาที่นักลงทุนใช้ไปกับการพักผ่อนแทน ทั้งนี้ทั้งนั้นในช่วงนี้ตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ โดยราคาอาจเปลี่ยนแปลงกระทันหันโดยที่คุณไม่มีทางรู้ได้ ซึ่งมีผลกระทบกับการเทรดในวันต่อไป

ในขณะเดียวกันตลาดฟอเร็กซ์เปิดทำการเป็นเวลา 5 วัน และเปิด 24 ชั่วโมง ดังนั้นนักลงทุนหรือนักเทรดควรที่จะระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะคุณยังมีโอกาสที่จะเตรียมตัวคุณเองให้พร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสกุลเงินในตลาด

ข้อเปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงและกำไร

การซื้อขายหลักทรัพย์อาจมีการดีเลย์  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อราคาซื้อและราคาขายในช่วงเวลานั้นๆ ในขณะเดียวกันในฟอเร็กซ์ รายการเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ และมีโอกาสที่จะดีเลย์ที่น้อยมากๆ

นอกจากนั้นตลาดฟอเร็กซ์ยังถูกบันทึกว่ามีจำนวนการทำรายการมากกว่าการซื้อขายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเสียอีก

Leverage

นักเทรดฟอเร็กซ์ได้เปรียบเพราะระบบ leverage โดยคุณสามารถใช้ระบบนี้ในการคาดการณ์ผลตอบแทนที่คุณมีโอกาสได้รับสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น อัตราส่วน leverage 100:1 จะช่วยให้คุณควบคุมการเทรดและกำไรได้สูงถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้เงินทุนเพียง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ

จาก 3 ข้อแตกต่างด้านบนที่กล่าวมานี้ คุณจะเห็นว่าประเภอการลงทุนแต่ละประเภอมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเพื่อช่วยคุณเลือกประเภทการลงทุน คุณจะต้องรู้ว่า risk profile และเป้าหมายการเงินของคุณคืออะไร

Show More
Back to top button