สุขภาพทางการเงินที่ดี: ความเสี่ยงของสภาพคล่อง 101
ดังนั้นคุณควรเข้าใจความเสี่ยงของสภาพคล่อง และความเสี่ยงของสภาพคล่องนั้นมีผลกระทบอะไรกับสุขภาพทางการเงินของคุณ
สภาพคล่องหมายถึง สินทรัพย์ที่มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดของทั้งสองฝั่ง นั่นก็คือฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อ แต่ในขณะเดียวกันความเสี่ยงของสภาพคล่องอาจส่งผลร้ายในรูปแบบที่คุณไม่คาดคิด
ความเสี่ยงของสภาพคล่อง: การขายสินทรัพย์
กรณีตัวอย่างในอดีต
อีกหนึ่งเหตุผลที่บริษัททางการเงินขาดทุนก็คือ บริษัทเหล่านี้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องเป็นจำนวนมาก และเหตุการณ์ลักษณะนี้มักเกิดในช่วงภาวะถดถอยของเศรษฐกิจนั่นเอง
เมื่อพวกเขาไม่มีเงินสดในการบริหารจัดการกิจกรรมทางธุรกิจในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นพวกเขาจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ที่พวกเขามีอยู่ออกไป สุดท้ายแล้วตลาดก็จะตายไปในที่สุด นอกจากนั้นพวกเขาจะต้องขายสินทรัพย์ ณ ราคาตลาดที่พวกเขาไม่สามารถเลือกได้
ยกตัวอย่างเช่น กรณีของ Lehman Brothers พวกเขามีเงินเพื่อการบริหารในระยะสั้นเป็นจำนวนมาก และมีการบริหารจัดการเงินเหล่านั้นไม่ค่อยดีนัก พวกเขาได้ตัดสินใจใช้เงินจำนวนนั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว ซึ่งไม่มีสภาพคล่อง
และนี่ก็คือความผิดพลาดของบริษัท เมื่อเงินจำนวนนั้นถูกถอนออกไป บริษัทจึงไม่สามารถที่จะมีเงินสดอยู่ในมือ และในเวลาเดียวกันพวกเขาก็ไม่สามารถขายสินทรัพย์ระยะยาวออกไปได้อีกด้วย
ในขณะเดียวกันโอกาสที่ดีก็ยังคงมีอยู่จากความเสี่ยงของสภาพคล่อง เนื่องจากนักลงทุนและบริษัทอื่นๆที่มีเงินสดอยู่ในมือ ก็จะสามารถปรับโครงสร้างของสินทรัพย์ได้
นักลงทุนบางกลุ่มที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนอาจกลายมาเป็นนักฆ่าในการลงทุนได้ เพราะพวกเขามีงบดุล ที่สามารถช่วยให้พวกเขาถือสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องในระยะยาวได้
ความเสี่ยงของการกระจาย Bid-offer spreads
เมื่อตลาดหรือนักลงทุนรายบุคคลอยู่ในภาวะที่เป็นอันตราย คุณอาจเห็น bid และ ask spread มีการกระจายมากขึ้น โดยช่องว่างของ spreads มีความกว้างขึ้น ซึ่งทำให้ market maker จับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ยากขึ้นนั่นเอง
เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ คุณมีหุ้นที่บริษัท XYZ โดยราคาตลาด ณ ปัจจุบันอยู่ที่ $20 ในเวลาต่อมา ราคา bid กลับตกลงมาที่ $14 เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับนั้นไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ ดังนั้นคุณจึงไม่สามารถได้รับ $20 เนื่องจากคนส่วนใหญ่ต้องการจ่ายเพียงแค่ $14