สถาบันการเงินกับฟอเร็กซ์: ใครบ้างที่อยู่ในตลาดฟอเร็กซ์
เมื่อเราพูดถึงคลาดการเงินนั้น เรากำลังพูดถึงตลาดฟอเร็กซ์ครับ อย่างที่เราได้เคยมีการพูดถึงไปในหลาย ๆ ครั้งครับ ว่าฟอเร็กซ์นั้น เป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสุงที่สุดในโลก โดยมีกระแสเงินสะพัดมากกว่า 5.5 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อวัน จึงไม่แปลกใจที่ว่าทำไมนักลงทุนมากมายถึงได้เข้ามาลงทุนในตลาดแห่งนี้
แต่เคยสงสัยกันไหมครับว่า เจ้าตัวเลขกระแสเงินจำนวนมหาศาลนี้เกิดขึ้นจากใครบ้าง? แน่นอนว่าไม่ได้มาจากเหล่านักเทรดรายย่อยแบบเรา ๆ เท่านั้น วันนี้ Thai trading focus จะมาพูดถึง “ผู้เล่นรายใหญ่” ที่อยู่ในตบาดแห่งนี้ หรือก็คือ สถาบันการเงินกับฟอเร็กซ์นั่นเองครับ
1.ธนาคารกลาง
อันดับแรกเลย ก็คือธนาคารกลาง แต่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ นั้น ไม่ได้ทำการลงมาเทรดฟอเร็กซ์เพื่อเก็บกำไรหรอกนะครับ แต่การแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่าง ๆ ของธนาคารจะเป็นไปเพื่อสนับสนุน และดำเนินนโยบายทางการเงินขอรัฐบาล โดยธนาคารกลางที่มีอิทธิพลสูงในตลาดฟอเร็กซ์ก็มีอยู่ 3 เจ้าด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐ ธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางยุโรป
2.ธนาคารอื่น ๆ
นอกจากธนาคารกลางแล้ว ธนาคารอื่น เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ก็มีส่วนร่วมในตลาดฟอเร็กซ์ด้วยเช่นกัน โดยธนาคารเหล่านี้ จะสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราได้ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกซ์ โดยที่ธนาคารเหล่านี้จะเทรดฟอเร็กซ์ทั้งเพื่อตัวเอง และเพื่อบริการแก่ลูกค้า เช่นการให้แลกสกุลเงินนั่นเอง ซึ่งธนาคารที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดฟอเร็กซ์ ได้แก่ UBS แบงก์ออฟอเมริกา ธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นต้น
และนอกเหนือไปจากธนาคารแล้ว ในตลาดฟอเร็กซ์ก็ยังมีผู้เล่นตัวใหญ่อีกครับ เช่น
บริษัทข้ามชาติ
บริษัทข้ามชาติ และบริษัทใหญ่ ๆ ในโลกก็เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดฟอเร็กซ์เช่นเดียวกัน โดยกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับตลาดฟอเร็กซ์ผ่านการทำธุรกิจ เช่น หากบริษัทของนิวซีแลนด์ ต้องการที่จะนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากจีน พวกเขาก็จำเป็นต้องแลกเงินเป็นสกุลเงินหยวนเสียก่อน เพื่อจะซื้อสั่งสินค้านั่นเอง
นักลงทุนสถาบัน และผู้จัดการด้านการเงิน
นักลงทุนสถาบัน หรือผู้จัดการด้านการเงิน คือบุคคลหรือองค์กรณ์ที่จะนำเงินบริหารจัดการในการลงทุน เช่นกองทุนประเภทต่างๆ และแน่นอนว่ารวมถึงฟอเร็กซ์ ด้วยเงินของลูกค้าที่มอบหมายให้นักลงทุนสถาบันเป็นผู้ลงทุนแทนตนนั่นเอง
เห็นไหมครับว่าในโลกของฟอเร็กซ์ หรือตลาดการเงินนั้น ไม่ได้มีแค่เทรดเดอร์รายย่อยเท่านั้น (แม้เทรดเดอร์รายย่อยจะเป็นผู้เล่นที่มีสัดส่วนจำนวนมากที่สุดก็ตาม) แต่ยังรวมไปถึงสถาบันทางการเงินระดับโลกอีกด้วย นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็น และยืนยันว่าตลาดฟอเร็กซ์เป็นสิ่งที่สามรถเชื่อถือได้แน่นอน และไม่ผิดกฏหมายแต่อย่างใด ดังนั้นอย่าเอาความเชื่อผิด ๆ ที่ส่าฟอเร็กซ์นั้นเป็นแชร์ลูกโซ่มาจำให้เปลืองพื้นที่สมองล่ะ เพราะไอ้ที่เราเห็นโกง ๆ กันนั้นไม่ใช่ฟอเร็กซ์จริงครับ แต่เป็นมิจฉาชีพที่แฝงมาโดยอ้างชื่อฟอเร็กซ์ โดยอาศัยความที่คนไทยยังไม่ค่อยรู้จักหรือคุ้นเคยกับฟอเร็กซ์มาเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่นนั่นเอง
และนี่ก็คือเรื่องราวของสถาบันการเงินกับฟอเร็กซ์ครับ