การบริหารจัดการเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการเทรดฟอเร็กซ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมความเสี่ยง การเทรดแต่นอนค่ะว่ามีความเสี่ยง ไม่ว่าเงินทุนคุณจะมีมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ดังนั้นเราจะต้องมีวิธีที่จะจำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเทรด
การเรียนรู้เพื่อเข้าใจการควบคุมความเสี่ยงอย่างถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญที่จะไปสู่ความสำเร็จ โดยความสำเร็จนั้นจะเป็นความสำเร็จที่คุณสามารถสร้างกำไรได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว นักเทรดมือใหม่หลายคนไม่รู้จักการบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง หรือบางคนอาจมีทักษะการบริหารจัดการเงินทุนของตนไม่ค่อยดีนัก
เพราะฉะนั้นในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงกุญแจสำคัญ 5 ข้อจากการเรียนรู้การบริหารจัดการเงินทุนและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ไปดูกันเลยค่ะ
ปริมาณความเสี่ยงต่อหนึ่งการเทรด
ปริมาณความเสี่ยงต่อหนึ่งการเทรดจะถูกประเมินโดยมูลค่าของเงิน ไม่ใช่ pips แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินทุนหรือค่า balance ในบัญชีของคุณเอง
สมมุติว่า คุณไม่มี position ในการเทรดและ balance ในบัญชียังคงมีครบถ้วน ในส่วนของความเสี่ยงต่อหนึ่งการเทรดเป็นปริมาณผลขาดทุนที่คุณคำนวณเมื่อเปิด position เพราะฉะนั้นไม่มีปริมาณที่ตายตัวสำหรับกรณีนี้ค่ะ นักเทรดบางคนอาจใช้วิธีที่แตกต่างจากนักเทรดคนอื่นๆ ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินของแต่ละคน ดังนั้นคุณควรใช้เงินทุนที่คุณคิดว่า คุณไม่ได้จะนำไปใช้ทำอะไรเลย มากไปกว่านั้นคุณควรหลีกเลี่ยงการเทรดโดยใช้เงินทุนที่คุณยังจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
สมมุติว่า เงินทุนของคุณถูกแบ่งไปใช้ในการเทรดบางส่วน และเงินทุนนั้นคุณจะต้องพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยง ถ้าเกิดเงินส่วนนั้นอาจหายไปหรือสูญเสียไปนั่นเอง
จากการสำรวจ นักเทรดที่มีรายได้จากการเทรดเป็นหลัก (หุ้น, ฟอเร็กซ์, ตราสารสิทธิ, อื่นๆ) มักตั้งความเสี่ยงไม่เกิน 3% ของเงินทุนทั้งหมดที่พวกเขามี ในทางกลับกันนักเทรดหลายคนต่างแนะนำว่าควรตั้งความเสี่ยงอยู่ระหว่าง 3%-5% ของเงินทุน
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะตั้งความเสี่ยงอยู่ที่เท่าไหร่ คุณจะต้องพอใจกับสิ่งที่คุณเลือก คุณจึงสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ในระหว่างการเทรดได้
แล้วทำไมต้องวัดความเสี่ยงด้วยมูลค่าของเงิน แทนการวัดด้วย pips? นั่นก็เพราะว่าการคำนวณความเสี่ยงเราจะต้องเอาปริมาณ lot ต่อหนึ่งการเทรดเข้ามาคำนวณด้วย ซึ่งเราจะอธิบายในประเด็นต่อไปค่ะ
2. Lot ใหญ่ต่อหนึ่งการเทรด (ขนาดของ position)
เคล็ดลับที่สองของการบริหารจัดการเงินทุนก็คือ ขนาดของ lot หรือปริมาณการเทรดนั่นเองค่ะ
วิธีการวัดปริมาณการเทรดโดยใช้ความเสี่ยง เราจะเรียกวิธีนี้ว่า position sizing สำหรับวิธีนี้ปริมาณความเสี่ยงในมูลค่าของเงินจะเหมือนเดิมเสมอ ไม่ว่าค่า stop loss ที่เรากำหนดไว้จะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ก็ตาม (ความเสี่ยงใน pips) เราสามารถปรับเปลี่ยนปริมาณการเทรดได้ โดยอยู่ในกรอบของค่า stop loss ที่เหมาะสม
ยกตัวอย่างเช่น คุณเทรด EUR/USD ที่ standard lot ดังนั้นมูลค่าต่อ 1 pip ก็คือ USD 10 ถ้าคุณมี balance ที่ USD 25,000 ความเสี่ยงที่คุณจะต้องตั้วไว้เมื่อคุณเปิด position ก็คือ 4% หลังจากนั้นปริมาณความเสี่ยงจึงเท่ากับ USD 25,000 X 4% = USD 1,000
ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ stop loss คือ 50 pips จากนั้นปริมาณการเทรดที่ stardard Lot จึงเท่ากับ USD 1,000/ (50 X USD 10) = 2 lots
ในกรณีที่มีนักเทรด 2 คนและมีเงินทุนและปริมาณการเทรดที่แตกต่างกัน แต่ใช้เปอร์เซ็นต์การเทรดและ stop loss เท่ากัน ดังนั้นยิ่งนักเทรดมีเงินทุนมากแค่ไหน ปริมาณการเทรดก็ยิ่งใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ stop loss (ความเสี่ยงใน pips) จะยังคงเท่ากัน
และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำไมเราจึงควรเรียนรู้การบริหารจัดการเงินทุน คุณสามารถวัดปริมาณความเสี่ยงต่อหนึ่งการเทรดจาดมูลค่าของเงิน ไม่ใช่มูลค่าของ pips ใน stop loss นั่นเองค่ะ