ไม่ว่าสแกมเมอร์จะมีตัวตนหรือไม่ แต่พวกเขาก็ยังคงเห็นว่านักเทรดมือใหม่หลายคนอาจเป็นเหยื่อที่พวกเขาสามารถหลอกได้ Jordan Belfort-inspired scam เป็นสแกมที่รู้จักกันดีในอินสตาแกรมหลายปีมาแล้ว
แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรายังคงมีเคล็ดลับที่จะสามารถบอกได้ว่าสแกมเมอร์ฟอเร็กซ์มีตัวตนอยู่ในโซเชียลมีเดีย เพราะฉะนั้นไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
โชว์ความมั่งคง “มากเกินไป”
สแกมเมอร์ฟอเร็กซ์บนอินสตาแกรมส่วนใหญ่แล้วมักชอบโชว์ความหรูหราของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรถสปอร์ต และอื่นๆ ที่พยายามแสดงให้เห็นว่าตนเองทำเงินจากการเทรดได้มาก
ยกตัวอย่างเช่น Gurvin Singh สแกมเมอร์ฟอเร็กซ์ที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนด้วยกว่า 1,000 คน และเขาได้ทำรายได้จากส่วนนี้ไปทั้งหมดประมาณ 3.52 ล้านยูโร
ข้อเสนอที่เป็นไปได้ยาก
เรายังคงพูดถึงกรณีของ Singh เขาเริ่มที่จะคิดค้นวิธีการโกงจากการติดต่อคนแบบสุ่ม ส่วนใหญ่แล้วคนที่มีอายุประมาณ 17 ถึง 25 บนอินสตาแกรม และเขาจะเลือกเหยื่อที่สามารถสร้างรายได้สูงกว่า 300 ยูโรต่อวัน
มากไปกว่านั้นเขามักจะยื่นข้อเสนอให้กับเหยื่อ โดยการบอกเหยื่อว่า พวกเขาสามารถถอนเงินได้ตอนไหนก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเหยื่อ เขาจะทำการเทรดในช่วงต้นเดือนจากนั้นก็ค่อยๆเอาเงินออกไปจากบัญชีของเหยื่อ
คำพูดที่ไม่มีหลักฐาน
เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเขาเอง Singh ได้กล่าวว่า เขาเป็นนักเทรดฟอเร็กซ์ที่จดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แน่นอนค่ะว่า สิ่งที่เขากล่าวไม่มีหลักฐานอะไรที่จะบอกได้ว่าเขาทำจริงๆ
มากไปกว่านั้นเขายังสร้างกลุ่มใน WhatApp เพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุนเหล่านั้นเพิ่มขึ้นอีก
การรอโอกาส
สิ่งสุดท้านที่ Singh ได้ทำก็คือ เขารอโอกาสหรือช่องว่างที่จะโกง ซึ่ง ณ ตอนนั้นกรณีของ Brexit เป็นเรื่องราวที่เป็นที่รู้จักกันไปทั่ว
เขาจะพยายามหาเหตุผลมาบอกเหยื่อว่า ทำไมการเทรดนั้นถึงขาดทุน ซึ่งสิ่งที่เขาทำก็ได้ผลจริงๆค่ะ เขาหลอกนักลงทุนได้สำเร็จ