1. Commercial และ Investment Banks
ใน interbank market ซึ่งมีปริมาณการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ที่ธนาคารทั้งหมดทำการแลกเปลี่ยนสกุลเงินผ่านเครือข่ายอิเล็คโทรนิกส์ มากไปกว่านั้นยังมีบัญชีธนาคารขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเทรดสกุลเงิน และธนาคารทำการส่งเสริมการขาย และทำการเกร็งกำไรการเทรดจาก trading desks ของพวกเขาเอง
2. ธนาคารกลาง
ธนาคารกลางมีหน้าที่กำหนดราคาของสกุลเงินของประเทศนั้นๆ ในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งเป็นเสมือนระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ให้นักเทรดสามารถซื้อขายสกุลเงินกันอย่างอิสระ มากไปกว่านั้นอัตราแลกเปลี่ยนยังถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว, คงที่ และระบบการผูกค่าเงินกับสกุลอื่น
3. ผู้จัดการการลงทุนและ Hedge Funds
ผู้จัดการการลงทุนกับพอร์ตฟอริโอ้ระหว่างประเทศจะต้องมีการซื้อขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยน ผู้จัดการการลงทุนจะต้องกล้าที่จะเสี่ยงในเรื่องของการเทรดฟอเร็กซ์ ถึงแม้ว่า Hedge funds บางชนิดจะเสี่ยง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนค่ะ
4. บริษัทข้ามชาติ
ธุรกิจที่มีการนำเข้าส่งออกจะต้องจ่ายชำระเงินค่าสินค้าและบริการ โดยบริษัทจะต้องทำการเทรดฟอเร็กซ์เพื่อลดความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงราคาของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเหมือนกับการที่บริษัทเยอรมันซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ spot market หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ บริษัทเยอรมันจะต้องทำสัญญาข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนที่จะใช้ในอนาคตจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นแล้ววัตถุประสงค์ของการทำสัญญาล่วงหน้าก็คือ เพื่อซื้อสินค้าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความเสี่ยงน้อยลง
5. นักลงทุนทั่วไป
ในโลกของนักลงทุน เมื่อเปรียบเทียบองค์กรทางการเงินและบริษัทต่างๆ จำนวนการเทรดนั้นค่อนข้างจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ในแง่ของจำนวนนักลงทุนมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักลงทุนเทรดสกุลเงินโดยการพิจารณาหลักพื้นฐานหลายๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ย, ระดับเงินเฟ้อ, ข้อยกเว้นนโยบายการเงิน และอื่นๆ มากไปกว่านั้นปัจจัยทางเทคนิคที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุนก็คือ ระดับแนวต้าน, แนวรับ, indicator และแนวโน้มความต้องการซื้อขายในตลาด