Forex และตลาดการตลาดการลงทุนการเงิน

อะไรคือโบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) และมีข้อดีอย่างไรบ้าง

Thai Trading Focus

อะไรคือโบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) และมีข้อดีอย่างไรบ้าง

สำหรับการเริ่มต้นเป็นนักเทรด Forex แล้ว หนึ่งในก้าวแรกที่สำคัญ ก็คือการเริ่มต้นเลือกโบรกเกอร์นั่นเองครับ เพราะมีหลาย ๆ กรณีที่นักเทรดเลือกโบรกเกอร์ผิด ทำให้พอหลังจากฝากเงินเข้าไปแล้ว เจอบริการแย่ ๆ หรือเกิดปัญหาขึ้น นึกเสียใจก็สายเกินไปเสียแล้ว

ดังนั้น ก่อนที่เราจะมานึกเสียดายในภายหลัง เรามาทำความรู้จักกับประเภทของโบรกเกอร์ อย่าง Dealing Desks และ No Dealing Desks (NDD) กันก่อนดีกว่าครับ

โบรกเกอร์ Dealing Desks

โบรกเกอร์ Dealing Desks และ No Dealing Desks (NDD)

ในการแยกประเภทของโบรกเกอร์ เราสามารถจำแนกอย่างกว้าง ๆ ได้เป็นสองประเภท นั่นคือประเภทโบรกผ่านโต๊ะดีล หรือ Dealing Desks (DD) และประเภทที่ไม่ใช่โบรกตั้งโต๊ะ หรือ No Dealing Desks (NDD) นั่นเองครับ

โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร?

โบรกเกอร์ Dealing Desks หรือบางที่จะเรียกโบรก B-Book จะมักลักษณะเป็นโต๊ะที่ทำหน้าที่ดีลออร์เดอร์ของลูกค้า กล่าวคือ ออเดอร์ของลูกค้าจะไม่ได้ถูกส่งเข้าสู่ตลาดโดยตรงนั่นเองครับ

โดยแทนที่จะส่งคำสั่งตรงเข้าสู่ตลาด ทางโบรกเกอร์ Dealing Desks จะเป็นผู้กำหนดราคาเอง ไม่ผ่านธนาคาร หรือ liquid provider นอกจากนี้ โบรกจะจัดการหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อจับคู่สถานะตรงกันข้ามกับลูกค้า เช่น จับคู่ออเดอร์ระหว่างลูกค้าด้วยกันเอง  ตัวอย่างคือ หากว่าลูกค้าคนนึง Long ก็หาลูกค้าอีกคนนึงที่ Short  มาจับคู่กัน เป็นต้น

โดยสำหรับการสังเกตว่าโบรกไหนเป็น B book หรือ โบรกเกอร์ Dealing Desks ในเบื้องต้นเราสามารถดูได้จากคำโฆษณาเลยครับ โบรกให้ที่โฆษณาราคาเวอร์วังอลังกาล

เสรปดก็ดีจนน่าเหลือเชื่อ โบรกนั้นมีแนวโน้มสูงมากที่จะเป็น โบรกเกอร์ Dealing Desks เพราะว่าโบรกประเภทนี้สามารถกำหนดราคาเองได้ ต่างจาก No Dealing Desks (NDD) ที่จะใช้ราคาจากผู้ให้บริกรสภาพคล่อง เช่น ธนาคารต่าง ๆ นั่นเองครับ

แล้วโบรก No Dealing Desks (NDD) คืออะไร?

พูดันอย่างง่าย ๆ แล้ว No Dealing Desks (NDD) ก็คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับโบรกเกอร์ Dealing Desks นั่นเองครับ นั่นก็คือโบรกที่มีลักษณะการทำงานแบบส่งออร์เดอร์ของลูกค้า หรือนักเทรด เข้าสู่ตลาดโดยตรง และรับเอาราคาจากสถาบัณทางการเงิน แทนที่จะเป็นผู้กำหนดราคาเองครับ และด้วยการทำงานแบบทางตรง จึงทำให้โบรก No Dealing Desks (NDD) จึงยังสามารถแยกย่อยไปเป็นโบรกที่เรียกว่า STP (Straight Through Processing brokers)

ดังนั้น โดยสรุปแล้ว จากการทำงานที่ต่างกันของโบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) และ  No Dealing Desk นี้ จึงทำให้โบรกทั้งสองประเภทมีที่มาของผลกำไรต่างกันครับ โดยโบรกเกอร์ Dealing Desks (DD)  จะได้กำไรจากการที่สามารถเป็นผูกำหนดราคาและดีลออร์เดอร์ของลูกค้าได้

ส่วนโบรกแบบ No Dealing Desk จะได้กำไรแค่จากค่า Commission จากการเทรด หรือค่า Spread เท่านั้นครับ

แบบไหนดีกว่ากัน?

แน่นอนว่าพูดมาขนาดนี้ ก็จะต้องมีคำถามว่า ระหว่างโบรกเกอร์ No Dealing Desk กับ โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) นั้น อะไรที่ดีกว่ากัน? อันที่จริงคำตอบก็คล้าย ๆ กับในหลาย ๆ กรณีที่เราพูดในเรื่องของ Forex ครับ คือไม่มีอะไรที่ดีที่สุดในโลก ทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่าเราใช้งานมันได้ดีแค่ไหน เพราะแม้ความจริงแล้ว โบรกแบบ No Dealing Desk จะมีความตรงไปตรงมากับนักเทรดมากกว่า แต่ก็ยังมีโบรกใหญ่ ๆ ที่เป็น Dealing Desks (DD) และมีลูกค้าเยอะเช่นเดียวกันครับ

 

Show More
Back to top button