วิธีการคำนวณ ROA
อย่างที่เราทราบกันดีว่า การคำนวณอัตราส่วนทางการเงินมีประโยชน์สำหรับนักลงทุน โดยหนึ่งในอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญต่อนักลงทุนก็คือ ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ROA มีความแตกต่างจากผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาแสดงวิธีการคำนวณ ROA กันค่ะ
เหตุใด ROA จึงมีความสำคัญ?
โดยทั่วไป การหมุนเวียนของสินทรัพย์จะบอกนักลงทุนถึงยอดขายรวมต่อหนึ่งดอลลาร์จากมูลค่าของสินทรัพย์ที่ถูกบันทึกไว้ในงบดุล ในขณะเดียวกัน ROA บ่งบอกถึงบริษัทสร้างกำไรหลังหักภาษีเป็นจำนวนเท่าใดต่อหนึ่งดอลลาร์ในสินทรัพย์นั้นๆ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ROA คือการวัดกำไรสุทธิของบริษัทโดยสัมพันธ์กับทรัพยากรของบริษัท และด้วยเหตุนี้ทำให้ ROA กลายเป็นบททดสอบผลตอบแทนผู้ถือหุ้นนั่นเอง
หากบริษัทไม่มีหนี้สิน ผลตอบแทนจากสินทรัพย์และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นก็จะเท่าเดิม
หากนักลงทุนวัด ROA ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในช่วงหลายปีและติดตามการเปลี่ยนแปลง นักลงทุนจะรู้ได้ว่า มีสิ่งใดเกิดขึ้นในธุรกิจบ้าง ซึ่งอาจเป็นคำเตือนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
วิธีการคำนวณ ROA
วิธีการคำนวณ ROA มีด้วย 2 วิธี
วิธีที่ 1: อัตรากำไรสุทธิ x การหมุนเวียนของสินทรัพย์
วิธีที่ 2: รายได้สุทธิ / สินทรัพย์เฉลี่ยสำหรับงวด
สำหรับวิธีแรก คุณต้องทราบอัตรากำไรสุทธิและการหมุนเวียนสินทรัพย์ของบริษัท
ในส่วนของวิธีที่สอง จะสั้นกว่าวิธีแรก คุณเพียงแค่ต้องนำรายได้สุทธิหารด้วยสินทรัพย์เฉลี่ยในช่วงเวลานั้นๆ
ความสำคัญของสินทรัพย์ซึ่งเป็นเสมือนตัววัดธุรกิจ
ROA เป็นวิธีหนึ่งที่บ่งบอกถึงการสร้างกำไรของสินทรัพย์ในธุรกิจ หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือบริษัททำกำไรได้มากน้อยเท่าไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมของบริษัทนั่นเอง
หากธุรกิจมีสินทรัพย์มากขึ้นนั่นก็หมายความว่า บริษัทมีเงินมากขึ้น ซึ่งธุรกิจนั้นควรนำกลับมาลงทุนใหม่เพื่อสร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง
กฎทั่วไปของ ROA ก็คือ หาก ROA ต่ำกว่า 5% แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจมีสินทรัพย์เป็นจำนวนมาก