สวัสดีครับ วันนี้ผมได้จัดชั้นหนังสือ แล้วบังเอิญไปเจอเอกสารงานเขียนเก่า ๆ ทางการเมืองที่เคยอ่านในสมัยที่ยังทำงานในเชิงวิชาการอยู่ มันคือส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง BLANK is BEAUTIFUL ของ Naomi Klein ครับ หรือที่แปลเป็นไทยได้ว่า ความว่างเปล่าคือความงดงาม ซึ่งเล่าถึงเหตุการณ์หลังภัยพิบัติ พร้อมการการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในภาวะช็อคนั่นเอง
พออ่านแล้วก็นึกถึงวันคืนเก่า ๆ ขึ้นมา เลยเอาส่วนหนึ่งมาแปลไว้ให้ได้อ่านกันครับ
BLANK IS BEAUTIFUL
THREE DECADES OF ERASING AND REMAKING THE WORLD
สามทศวรรษแห่งการลบล้างและสร้างสรรค์โลก
ในสายตาของพระเจ้า ณ เวลานี้ โลกกำลังเสียหาย และแผ่นดินก็เต็มไปด้วยความรุนแรง และพระเจ้ามองเห็นสรรพมนุษย์ตกต่ำพังทลายลงด้วยวิถีทางของพวกเขาเอง เช่นนั้นพระองค์จึงตรัสกับโนอาห์
“เรามีประสงค์จะมอบจุดจบแก่มวลมนุษย์ โลกนั้นเต็มไปด้วยความรุนแรงก็เพราะพวกเขา ณ ยามนี้เราจะทำลายพวกเขาไปพร้อมกับผืนโลก”
-Genesi s 6:11 (NRSV)-
“อาการช็อค และความน่าสะพรึงกลัวคือการกระทำที่สร้างความหวาดกลัว อันตราย และการทำลายล้างซึ่งไม่อาจเข้าใจได้แก่คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะองค์ประกอบ/ภาคของสังคมหรือผู้นำ โดยตามธรรมชาติจะเกิดในรูปแบบของพายุธอร์นาโด เฮอร์ริเคน แผ่นกินไหว น้ำท่วม เพลิงไหม้ที่ไม่อาจควบคุม และโรคร้ายซึ่งก่อให้เกิดความช็อคและน่าความหมาดกลัว”
—Shock and Awe: Achieving Rapid Dominance, the military doctrine for the U.S. war on Iraq –
ฉันพบจามาร์ เพอร์รี่เมื่อเดือนกันยายน ปี 2005 ในศูนย์พักพิงใหญ่ของสภากาชาดในแบตันรูช รัฐหลุยเซียน่า อาหารค่ำเริ่มขึ้นและถูกแจกจ่ายโดยพ่อหนุ่มหน้าตายิ้มแย้มจากไซแอนโทโลจี (Scientology) จารมาร์ยืนอยู่ในแถว ฉันเพียงแค่คุยกับผู้อพยพโดยไม่มีคนคอยคุ้มกันผู้ถูกสัมภาษณ์ และในตอนนั้นฉันเองก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะผสมผสานสีขาวของชาวแคนนาดาลงในทะเลแห่งแอฟริกัร-อเมริกาใต้ ฉันหลบเข้าไปในแถวรับอาหาร ตรงด้านหลังของเพอร์รี่ และขอให้เขาคุยกับฉัน ประหนึ่งว่าเราเป็นเพื่อนเก่ากัน ซึ่งเขาก็ตกลงอย่างแสนกรุณา
เกิดและเติบโตในนิวออร์ลีนส์ เขาอพยพจากตัวเมืองที่ถูกน้ำท่วมมาได้หนึ่งสัปดาห์ ดูจากภายนอกแล้วเขาน่าจะอายุราวสิบเจ็ด แต่กลับบอกฉันว่าอายุยี่สิบสามแล้ว เขาเล่าว่า ตัวเขาและครอบครัวเฝ้ารอรถอพยพอยู่นานมาก แต่ก็ไม่มาสักที ดังนั้นพวกเขาจึงเดินฝ่าแสงอาทิตย์ออกมาและในที่สุดก็จบลงที่นี่ ศูนย์การประชุมซึ่งปกติเป็นที่จัดแสดงสินค้าและเภสัชกรรม รวมถึง “เมืองหลวงสังหาร: สุดยอดของการต่อสู้ในกรงเหล็ก” ตอนนี้กลับอัดแน่นด้วยเตียงเหล็กกว่าสองพันเตียงและความยุ่งเหยิงโกรธเคือง ทุกคนถูกตรวจตราโดยเหล่าทหารแห่งชาติผู้หงุดหงิดและเพิ่งกลับมาจากอิรัก
ข่าวที่ถูกพูดถึงกันในศูนย์พักพิงในวันนั้น หนีไม่พ้นข่าวที่ริชาร์ด เบเคอร์(Richard Baker) สมาชิคสภาคองเกรสพรรครีพลับบิกันจากเมืองนี้ ได้บอกแก่เหล่าล็อบบี้ยิสต์ว่า
“ในที่สุด เราก็ทำความสะอาดการเคหะของรัฐ (Public housing) ในนิวออร์ลีนส์ได้เสียที แม้พวกเราจะทำเองไม่ได้ แต่พระเจ้าทรงกระทำได้”
โจเซฟ คานิซาโร่ หนึ่งในนักพัฒนาผู้มั่งคั่งของนิวออร์ลีนส์ ได้พูดแสดงความเชื่อมั่นในทำนองเดียวกันว่า “ผมคิดว่าเรามีกระดาษเปล่าให้เริ่มต้นใหม่อีกครั้งแล้วล่ะ และด้วยความว่างเปล่านั้น เรามีโอกาสบางอย่างที่ใหญ่มากทีเดียว”
สัปดาห์นั้นทั้งสัปดาห์ สภานิติบัญญัติแห่งหลุยเซียน่าในแบตันรูชได้รวบรวมข้อมูลร่วมกับองค์การล็อบบี้ยิสต์ในการล๊อคโอกาสครั้งใหญ่เล่านั้น ได้แก่การลดภาษี การลดกฏระเบียบ แรงงานที่ถูกลง และ “เมืองที่เล็กลง แต่ปลอดภัยมากขึ้น”
ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นหมายถึง แผนการที่จะยกระดับโครงการเคหะของรัฐ และแทนที่ด้วยคอนโด ได้ยินทุกคนพูดถึงแต่ ‘การเริ่มต้นอันสดใหม่’ และ ‘แผ่นกระดาษที่ขาวสะอาด’ จนคุณเกือบหลงลืมเรื่องสารพิษจากขยะ สารเคมีที่ปล่อยออกมา และผู้คนที่ยังคงอยู่ห่างไปไม่กี่ไมล์จากทางด่วน
จามาร์คิดว่า “ผมไม่คิดว่ามันเป็นการทำความสะอาดเมือง สิ่งที่ผมเห็นก็คือมีคนมากมายที่ต้องตายไปที่ตอนบนของเมือง ผู้คนที่ไม่สมควรต้องตาย” เขาพูดเบาๆ แต่ชายอายุมากกว่าด้านหน้าพวกเราได้ยินเข้า และหันมาอย่างรวดเร็ว “เกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านั้นที่แบตันรูช? นี่มันไม่ใช่โอกาสแล้ว แต่เป็นโศกนาฏกรรมชัดๆ พวกเขาตาบอดไปแล้วหรือไง?”
มารดาของเด็กสองคนร่วมผสมโรงว่า “เปล่า พวกเขาไม่ได้ตาบอด แต่ว่าเป็นปิศาจ ถึงได้มองว่ามันไม่เป็นอะไร”
หนึ่งในผู้ที่มองเห็นโอกาสในวิกฤติน้ำท่วมของนิวออร์ลีนส์ก็คือ มิลตัน ฟรีดแมน ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งการเคลื่อนไหวเพื่อทุนนิยมอิสระ(the movement for unfettered capitalism) ชายผู้มีเครดิตจากการเขียนหนังสือกฏหมายร่วมสมัยและเศรษฐกิจโลกแบบ hyper-mobile อายุ99ปีพร้อมกับสุขภาพที่ย่ำแย่ “ลุงมิลตี้” ของเหล่าสาวกผู้ติดตามนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เขายังหาความแข็งแกร่งเจอเพื่อจะเขียนคำเปิดและปิดสำหรับวารสารวอลสตรีทในสามเดือนหลังจากที่เขื่อนแตก
“โรงเรียนส่วนมากในนิวออร์ลีนส์อยู่ใต้ซากปรักหักพัง”ฟรีดแมนตั้งข้อสังเกตุ “เช่นเดียวกับบ้านของเด็กๆที่ตอนนี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ นี่คือโศกอนาฏกรรม แต่ก็เป็นโอกาสในการปฏิรูปการศึกษา”
ความคิดอันแรงกล้าของฟรีดแมนคือ แทนที่จะจ่ายเงินบางส่วนในงบพันล้านดอลล่าร์เพื่อการฟื้นฟู ซ่อมแซม และพัฒนาระบบการศึกษาแบบโรงเรียนในสังกัดรัฐบาลที่มีอยู่เดิม รัฐบาลควรจะออกบัตรกำนันให้แก่ครอบครัว ซึ่งพวกเขาจะนำไปใช้จ่ายในสถาบันเอกชนซึ่งขับเคลื่อนด้วยผลกำไรได้ นั่นจึงเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งมันเป็นเรื่องสำคัญมาก ฟรีดแมนเขียนว่า การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานนี้จะไม่ใช่เพียงการชั่วคราว แต่จะเป็น “การปฏิรูปอย่างถาวร”
เครื่อข่ายปีกขวายึดมั่นในยุธศาสตร์บนข้อเสนอของฟีดแมนและลงมายังเมืองหลังผ่านพ้นพายุ และการบริหารของจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้สนับสนุนแผนของพวกเขาด้วยเงินหลายสิบล้านดอลล่าร์ในการเปลี่ยนโรงเรียนในนิวออร์ลีนให้กลายเป็น “charter schools” (โรงเรียนทุนสาธารณะ รร.เอกชนจัดตั้งขึ้นโดยครู ผู้ปกครอง หรือชุมชน มีกฏของตัวเอง โดยอยู่ใต้อำนาจท้องถิ่นระดับชาติ) และไม่มีที่ไหนจะมีชาร์เตอร์สคูลมากไปกว่าในรัญนิวออร์ลีนส์ ที่เห็นได้จากการที่พ่อแม่ชาวแอฟริกัน-อเมริกันจำนวนมาก เป็นเหมือนการย้อนกลับของผลกำไรจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน
ซึ่งรับประกันว่าเด็กทุกคนจะมีการศึกษาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับมิลตัน ฟรีดแมนแล้วนั้น แนวคิดทั้งหมดของโรงเรียนที่จัดตั้งโดยรัฐบาลคือกลิ่นคละคลุ้งของระบบสังคมนิยม ในมุมมองของเขาแล้ว หน้าที่ของรัญบาลเพียงอย่างเดียวก็คือ “เพื่อปกป้องเสรีภาพของพวกเราจากศัตรูภายนอกประตู และจากผองเพื่อนประชาชนของเราเอง เพื่อดำรงไว้ซึงกฏหมายและความเป็นระเบียบ บังคับใช้สัญญา และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาด” ในทางกลับกัน การจัดสรรตำรวจ ทหาร หรืออื่นๆ รวมถึงการให้การศึกษาฟรีคือการรบกวนและสร้างความไม่เป็นธรรมในตลาด
การจัดการกับผู้ตกเป็นเหยื่อของน้ำท่วม ถูกหันเหความสนใจไปที่การจะลบล้างระบบสาธารณะและแทนที่ด้วยเอกชน หรือที่เรียกกันตามแผนของฟรีดแมนว่า “ดินแดนแห่งการศึกษา”
ฉันเรียกการบุกเข้าไปในพิ้นที่สาธารณะขณะที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ รวมไปถึงการเยียวยาภัยภิบัติราวกับว่ามันเป็นตลาดที่น่าตื่นเต้นนี้ว่า “ทุนนิยมภัยพิบัติ(Disaster capitalism)”
ในเวลากว่าสามทศวรรษ ฟรีดแมนและเหล่าสาวกผู้ทรงพลังได้ใช้กลยุทธ์นี้อย่างสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ เฝ้ารอวิกฤติครั้งใหญ่ จากนั้นจึงขายชิ้นส่วนของรัฐแก่ผู้เล่นที่เป็นเอกชน ในขณะที่ประชาชนยังคงตกอยู่ในห้วงของความช็อค หลังจากนั้นจึงรีบทำการ ‘ปฏิรูป’ อย่างถาวร
และนี่ก็คือตัวอย่างของการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในภาวะช็อคนั่นเองครับ