เราจะรับมือกับความกังวลต่อ Covid-19 ได้อย่างไร
ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังพบเจอกับการแพร่ระบาดของโควิด19ระรอกที่สาม ซึ่งมาอย่างรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ประกอบกับการบริหารจัดการที่ไม่ราบรื่น และวัคซีนที่ยังกระจายไม่ทั่วถึงประชาชนทั้งประเทศ อีกทั้งยังขาดการนำเข้าวัตซีนประสิทธิภาพสูง ทำให้หลาย ๆ ท่านต่างเกิดความกังวล ทั้งเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ และด้านของสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่เราแทบจะไม่สามารถไปถามหาความช่วยเหลือจากรัฐบาลได้เลย การที่ประชาชนอย่างเราต้องพึ่งพาตนเองจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ และอันดับแรกคือการดูแลสุขภาพของเรา หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดโรค นอกจากนี้ สุขภาพด้านจิตใจเองก็สำคัญไม่แพ้กัน คำถามก็คือ เราจะรับมือกับความกังวลต่อ Covid-19 ได้อย่างไรบ้าง
เสพข่าวอย่างมีสติ
อย่าตื่นตูมไปก่อน โลกอินเทอร์เน็ตนั้นทำให้ข่าวสารถูกเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งนี่เป็นข้อดีครับ แต่ในอีกแง่หนึ่ง มันก็อาจทำให้เราสับสนได้ กับการพาดหัวข่าวให้ร้ายแรงไว้ก่อนเพื่อเรียกยอดวิวของผู้คน บางครั้งข่าวก็ตัดเอาประโยคเพัยงไม่กี่ประโยคที่ฟังดูรุนแรงมากมาเผยแพร่ ดังนั้น เราควรจะตามข่าวสารอย่างมีสติอยู่เสมอครับ การตื่นตระหนกรังแต่จะสร้างความเครียดให้กับตนเอง ดังนั้น ให้มีสติตื่นรู้ แต่ไม่ตื่นตูม
หาสิ่งอื่นทำบ้าง
การจมอยู่กับความเครียดไม่ใช่เรื่องดี ในหลาย ๆ ครั้ง ความกังวลก็สามารถถูกกำจัดไปได้ด้วยการหาเรื่องอื่น ๆ มาทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ อาจจะเป็นการพักผ่อน อ่านหนังสือ ดูหนัง ปลูกต้นไม้ หรือจะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และประกอบอาชีพเสริม ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ
เตรียมพร้อมเสมอ
เราควรมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นให้ครบ เช่น เราสามารถลงทะเบียนฉีดวัคซีนได้ที่ไหนบ้าง ข้อดี-ข้อเสียของวัคซีนที่ไทยนำเข้ามามีอะไร เพื่อชั่งน้ำหนักก่อนตัดสินใจว่าจะฉีด หรือจะรอวัคซีนยี่ห้ออื่น ๆ ดี นอกจากนี้ เราควรรู้ข้อมูลจำพวกสายด่วนให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคโควิด19 เผื่อในกรณีโชคร้ายตัวเราหรือคนรอบตัวติดโรค เราจะได้ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องครับ