ไม่ปรับ หรือรับไม่ไหวแล้ว: ทำไมเราถึงควร ”เลิก” ว่าคนที่ต้องปิดกิจการช่วงโควิดว่าไม่ปรับตัว

ไม่ปรับ หรือรับไม่ไหวแล้ว

Thai Trading Focus

ไม่ปรับ หรือรับไม่ไหวแล้ว: ทำไมเราถึงควร ”เลิก” ว่าคนที่ต้องปิดกิจการช่วงโควิดว่าไม่ปรับตัว

จากสถานการณ์บ้านเมืองและการแพร่ระบาดของโควิด19 ที่นำมาสู่การล็อคเดาวน์อีกครั้ง ซึ่งก็ทำให้เกิดกระแสเสียงแตกออกเป็นหลายเสียง หนึ่งในนั้นคือฝั่งผู้ประกอบการซึ่งแบกรับภาระจากการล็อคดาวน์ไม่ไหวแล้ว กับอีกฝั่งที่ต่อว่า ว่าผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้เพราะไม่ปรับตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พวกเขานั้นไม่ปรับหรือรับไม่ไหวแล้วกันแน่? วันนี้มาดูเหตุผลกันดีกว่า ว่าทำไมเราถึงควร ”เลิก” ว่าคนที่ต้องปิดกิจการช่วงโควิดว่าไม่ปรับตัว

1.ไม่ใช่ทุกกิจการที่เหมาะกับการขายออนไลน์

ทุกครั้งที่เกิดประเด็นล็อคดาวน์ขึ้น จะมีคนบอกว่า ให้เปลี่ยนไปขายสินค้าออนไลน์ หรือทำดิลิเวอร์รี่แทน อย่างไรก็ตาม เราบางคนอาจหลงลืมไปว่า ไม่ใช่ทุกกิจการซึ่งได้รีบผลกระทบจากการล็อคดาวน์นั้นจะสามารถปรับไปใช้ช่องทางดังกล่าวได้ครับ เช่น นักร้องนักดนตรีตามร้านอาหาร ร้านทำเล็บ หรือร้านที่ขายโดยคนเฒ่าคนแก่ที่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น เป็นต้นครับ ดังนั้น การไล่ให้คนเหล่านี้ไปขายออนไลน์แทนจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย นักร้องนักดนตรีไปเล่นทางออนไลน์ คิดว่ามีกี่คนที่จะสร้างรายได้ได้จริงๆครับ? มันน้อยมากๆเลยถูกไหม

2.เพราะทุกการปรับมีต้นทุน

ในการปรับวิถีการค้าขายนั้นมีต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการขายออนไลน์ที่จะต้องมีต้นทุนค่าอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ที่ใช้ขายของเช่นสมาร์ทโฟน (ซึ่งอย่าลืมว่าประเทศไทยไม่ใช่แค่กรุงเทพ มีคนตามชนบทและ/หรือกระทั่งคนกรุงเทพเอง บางคนที่ยากจนจริงๆก็ไม่มีสมาร์ทโฟนครับ) ทั้งยังต้องเสียเปอร์เซ็นต์ให้กับแอปขายของ แอปส่งของอีก ดังนั้นอยากให้คนที่ไม่เจอกับตัวนึกถึงจุดนี้ด้วยครับ บางคนพอมีทุนก็ยังกล้ำกลืนไปต่อไป แต่บางคนทุนจมไปหมดตั้งแต่ล็อคดาวน์รอบก่อน ๆ แล้ว ก็หมดสิ้นหนทางจะไปต่อแล้วครับ

ที่ผมยกประเด็นนี้มาพูด เพราะผมทนไม่ได้กับการที่เห็นคนบางคนมาหาว่าคนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ค้าที่ยากลำบาก หมดทุน มีหนี้สิน ถูกคนที่ไม่ได้รับผลกระทบกับตัวมาพูดจาว่าร้ายว่าพวกคุณมันไม่ปรับตัวเอง ก็ต้องเจ๊งไป ผมอยากให้ลองย้อนมองดูจริงๆครับ ว่าพวกเขาไม่ปรับ หรือรับไม่ไหวแล้วกันแน่

Exit mobile version